ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาระบบการตรวจเช็ครถ Emergency โดยใช้ Visual control
ผู้แต่ง : น.ส.นฤมล ภูสนิท และทีมพยาบาลห้องอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันบทบาทหน้าที่และภาระงานของพยาบาล ER มีปริมาณมาก นอกจากจะให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว การบริหารจัดการเรื่องอุปกรณ์ ยา เวชภัณฑ์ต่างๆที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินให้มีความพร้อมใช้ตลอดเวลาเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อปริมาณผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การบริหารจัดการเรื่องอุปกรณ์ ยา เวชภัณฑ์ต่างๆในการช่วยชีวิตมีประสิทธิภาพลดลง ตรวจเช็คไม่ทัน ใช้เวลาในการตรวจเช็คนาน จากการติดตามปัญหาที่ผ่านมาในปี 2556-2558 พบอุบัติการณ์ความไม่พร้อมใช้รถ Emergency คิดเป็น 88.6% , 87.2 % และ 84.7% ตามลำดับ  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความพร้อมใช้งานของเครื่องมือ ยาและเวชภัณฑ์ช่วยชีวิต ให้มีความพร้อมใช้ตลอดเวลา ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.อัตราความพร้อมใช้ของเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยชีวิต/ยา/เวชภัณฑ์ใน รถEmergency เป้าหมาย 100% 2.ระยะเวลาในการตรวจเช็คเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยชีวิต/ยา/เวชภัณฑ์ใน รถ Emergency ได้ภายใน 10นาที  
กลุ่มเป้าหมาย : พยาบาลวิชาชีพประจำER, เครื่องมือ,อุปกรณ์ ,ยาช่วยชีวิต ,เวชภัณฑ์  
เครื่องมือ : ระบบVisual control ,ทะเบียนตรวจเช็คเครื่องมือ ยา/เวชภัณฑ์ช่วยชีวิต ,นาฬิกาจับ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ทบทวนกระบวนการตรวจเช็คเครื่องมือ เพื่อหาสาเหตุของปัญหา 2.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด Lean Management แนวทางการตรวจเช็คเครื่องมือ ยา เวชภัณฑ์ในการช่วยชีวิต การสำรองยา น้ำเกลือและอุปกรณ์ช่วยชีวิต จากองค์กรภายนอกเพื่อนำข้อมูลมาบูรณาการให้เกิดแนวคิดการตรวจเช็คยา อุปกรณ์ช่วยชีวิตใหม่ของหน่วยงาน 3.ปรับปรุงรถ Emergency กำหนดชั้นในการจัดวางอุปกรณ์ ยา ให้เหมาะสม 4.จัดทำสัญลักษณ์โดยใช้ Visual Control เพื่อแสดงความพร้อมใช้งาน 5.จัดทำแผนผังการไหล ( Flow ) ของการตรวจเช็คเครื่องมือ อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ 6.ปรับปรุงทะเบียนการตรวจเช็ค 7.มีการ OK รถEmergency กรณีใช้แล้วยังไม่ได้เติมของ ยังไม่ติดจะยังไม่ติดสัญลักษณ์ Visual control 8.เก็บรวบรวมข้อมูล ผลลัพธ์ทุกเดือนโดยผู้รับผิดชอบในหน่วยงาน 9.ทบทวนเมื่อเกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยง 10.ประเมินผลทุกเดือน เพื่อการปรับปรุงพัฒนางาน  
     
ผลการศึกษา : 1.อัตราความพร้อมใช้ของเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยชีวิต/ยา/เวชภัณฑ์ใน รถEmergency 95.9 2.ระยะเวลาในการตรวจเช็คเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยชีวิต/ยา/เวชภัณฑ์ใน รถ Emergency ใช้เวลาเฉลี่ย 8.5 นาที หลังพัฒนาแนวทางใหม่ระยะเวลาในการตรวจเช็คลดลงและสะดวก มั่นใจ แต่ยังพบปัญหาด้านอุปกรณ์ยังไม่พร้อมใช้งานในบางครั้งจากที่มี caseฉุกเฉินติดต่อกัน และเวรต่อเวร  
ข้อเสนอแนะ : ในปี 2560 จึงได้พัฒนาความพร้อมใช้ในสถานการณ์ดังกล่าว และประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวทางการตรวจเช็คยา อุปกรณ์ช่วยชีวิตแบบใหม่ของหน่วยงานเพื่อต่อยอดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมให้ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)