ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบงานจ่ายกลาง(Central Sterile Supply Department ; CSSD) ปี2560
ผู้แต่ง : จุฑามณี พละศิลา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : งานจ่ายกลางโรงพยาบาลนามนมีหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ปราศจากเชื้อให้กับหน่วยงานบริการทุกหน่วยบริการในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ปลอดภัย จากการทบทวนระบบงานพบปัญหากระบวนงาน เจ้าหน้าที่ยังไม่ปฏิบัติ ตามที่กำหนดไว้ตามมาตรฐาน และกระบวนการต่างๆจะได้มาตรฐานต้องมีกระบวนการตรวจสอบการมีประสิทธิภาพของแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ทุกขั้นตอนได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถรับรองได้ว่าทุกขั้นตอน มีหลักฐานและยอมรับในคุณภาพของอุปกรณ์ที่ผ่านขั้นตอนต่างๆได้มาตรฐาน งานจ่ายกลาง จึงจัดทำกระบวนการพัฒนาระบบงานขึ้นมา  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาระบบงานจ่ายกลางให้มีคุณภาพและผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. เพื่อสื่อสารกระบวนการงานจ่ายกลางให้ผู้รับบริการรับทราบ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้รับบริการ และผู้ให้บริการหน่วยงานจ่ายกลาง  
เครื่องมือ : 1. คู่มือแนวทางปฏิบัติ 2. แบบบันทึกความเสี่ยง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : Plan 1. ประชุมทบทวนระบบงานจ่ายกลางร่วมกับทีม IC ENV เพื่อปรับปรุงในส่วนที่ขาด 2. ตรวจเช็คเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในงานจ่ายกลาง ที่ต้องสนับสนุนเพิ่ม เช่น ที่วางรองเท้า อุปกรณ์การล้างเครื่องมือ ,ชุดอุปกรณ์ป้องกันตัวเองในห้องอบแก๊สEO 3. จัดทำขั้นตอนต่างๆอย่างชัดเจน ทั้ง 3โซน 4. เพิ่มวิธีการสุ่มเชคในขั้นตอนต่างๆ เช่น การตรวจสอบการล้างว่าสะอาดหรือไม่โดยตัวทดสอบ ,ตัวทดสอบประชีวภาพของเครื่องอบแก๊ส EO 5. จัดระเบียบ 5 ส. ของห้องเก็บของ Sterile ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด 6. จัดอบรมขั้นตอนการใช้เครื่องมือ การดูว่าผ่านมาตรฐานหรือไม่ และทำสติ้กเกอร์เทียบให้แต่ละจุดเห็นชัดเจน DO 1. จัดทำแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานจ่ายกลางให้ครอบคลุม ในเรื่องการรับส่งเครื่องมือ การล้างทำความสะอาดเครื่องมือ การ Pack ส่งนึ่งเพื่อให้ปราศจากเชื้อ การเก็บอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ในห้องเก็บอุปกรณ์ sterile ให้ชัดเจน 2. ทำเส้นทางในการรับส่งเครื่องมือเป็น One Way traffic work flow 3. จัดการแบ่งโซนให้ชัดเจนโดยมี เขตสกปรก คือห้องรับเครื่องมือที่ใช้แล้วจากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย ห้องล้างทำความสะอาดเครื่องมือ/ห้องเก็บอุปกรณ์งานบ้าน เขตสะอาดประกอบด้วยห้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับ pack ห้อง ห้อง pack ห้องนึ่งไอน้ำ ห้องอบแก๊ส ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า เขตปราศจากเชื้อ ได้แก่บริเวณห้องเก็บอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ 4. ประชุมและแจ้งแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานให้เจ้าหน้าที่รับทราบและปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน เช่น ถ้าจะเข้าห้อง Sterile จะต้องเปลี่ยนรองเท้าและสวมเสื้อกาวน์ ก่อนเข้าห้องเก็บของ sterile เปลี่ยนรองเท้าทุกครั้งเมื่อเข้าในเขตที่ทำงาน 5. ประชุมเจ้าหน้าที่อื่นในโรงพยาบาลให้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการรับและส่งเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ 6. จัดให้มีห้องเปลี่ยนเสื้อและรองเท้าก่อนเข้าห้องเก็บของ sterile 7. จัดให้มี Alcohol hand rup ในส่วนที่จำเป็นจะต้องใช้เช่น ก่อนเข้าห้อง Sterile หรือในห้อง Pack 8. จัดให้มีตัวทดสอบประสิทธิภาพการล้างเครื่องมือ และตัวทดสอบด้านชีวภาพของเครื่องอบแก๊สEO 7. จัดให้มีห้องเปลี่ยนเสื้อและรองเท้าก่อนเข้าห้องเก็บของ sterile ติดป้ายให้ชัดเจน 8. จัดทำสติ้กเกอร์เทียบให้แต่ละจุดเห็นชัดเจนในเรื่องเครื่องมือผ่านมาตรฐานหรือไม่ 9. จัดอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องให้รับทราบกระบวนการต่างๆร่วมกัน 10. ติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของผู้รับบริการและผู้ให้บริการของหน่วยงานจ่ายกลางเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข Check ตัวชี้วัด เป้าหมาย ปี 2560 1. ร้อยละจำนวนชุดอุปกรณ์/เครื่องมือที่นึ่งให้ปราศจากเชื้อ 100% 2. ร้อยละจำนวนการตรวจ Spore Test. หม้อนึ่งเป็นลบ 100 3. ร้อยละเครื่องมืออุปกรณ์เพียงพอ 100 4. อัตราการ Re-sterile < 2 % 5. อัตราความพึงพอใจของผู้มารับบริการ 80% 6.ร้อยละจำนวนการตรวจ Spore Test. เครื่องอบแก๊สEO 100% Act รอการตรวจสอบ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง