ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียนบ้านดงหมู อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางวิชชุนี ละม้ายศรี, คณะครูโรงเรียนบ้านดงหมู ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญทั้งปัจจุบันปัญหาภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเวลาเดียวกันโดยเฉพาะในวัยเด็ก ผลกระทบอันเกิดจากภาวะผอมและเตี้ยของเด็กไทยจะส่งผลต่อภาวะไอคิวของเด็กไทยที่มีค่าเฉลี่ยเพียง 98.59 แม้ว่าจะจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนข้างไปทางต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลซึ่งควรจะมีไอคิวอยู่ที่ 100 ในขณะที่เด็กเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, จีน และสิงคโปร์อยู่ที่ 105-108 ส่วนผลกระทบความอ้วนในเด็กพบว่า เด็กไทยที่อ้วนเกินครึ่งมีภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ และหนึ่งในสามของเด็กอ้วน จะมีภาวะความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูง ที่สำคัญเด็กที่อ้วนจะมีโอกาสโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนสูงถึงร้อยละ 30 เมื่อผู้ใหญ่อ้วนจะตามด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย หรืออ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทย วัย 6-14 ปี จำนวน 1 ใน 5 คน กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้ามีมากถึงร้อยละ 60 ที่ไม่ได้กิน เด็กวัย 6- 14 ปี ร้อยละ 68 และ 55 กินผักและผลไม้น้อยกว่า 1 ส่วนต่อวันตามลำดับ ในขณะที่เด็กไทย 1 ใน 3 กินอาหารแป้ง ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูงเป็นประจำ ที่น่าตกใจเด็กไทยวัยเรียนร้อยละ 49.6 กินขนมกรุบกรอบเป็นประจำ ซึ่งขนมกรุบกรอบส่วนมากจะมีไขมัน น้ำตาล โซเดียม และให้พลังงานสูง ส่วนอาหารกลางวันมีเด็กวัยเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้กิน ถึงได้กินแต่เป็นอาหารกลางวันที่ขาดคุณภาพและไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านดงหมู ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียนขึ้น โดยเน้นที่การปรับอาหารกลางวันของแม่ครัว และเพิ่มให้ในมื้ออาหารนั้นมีสัดส่วนของปริมาณผัก ผลไม้ในกระบวนการทำอาหารกลางวันถูกต้องตามหลักโภชนาการ พร้อมทั้งสร้างความรู้/ความตระหนักให้นักเรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนลดการบริโภคน้ำหวานลง และเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีของนักเรียนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้พฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ในมื้อกลางวันของนักเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 นักเรียนบริโภคผัก ผลไม้ในมื้อกลางวันเพิ่มขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียน, แม่ครัว, ครู  
เครื่องมือ : แบบบันทึก, แบบประเมิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. สำรวจพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ของนักเรียน (ก่อนเริ่มโครงการ) 2. ติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลางวันของนักเรียนจากปริมาณเศษอาหารที่เหลือในมื้อกลางวัน 3. ประเมินการจัดทำเมนูระหว่างมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกสัปดาห์ 4. อบรมให้ความรู้แก่แม่ครัว เรื่องการจัดการอาหารกลางวันที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ 5. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแม่ครัว เพื่อจัดทำรายการอาหารกลางวันทุกเดือน 6.อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของผัก ผลไม้ชนิดต่างๆ แก่เด็ก และส่งเสริมการปลูกผักบริโภคเอง ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการบริโภคผัก ผลไม้ 7. ประเมินผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ