ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์
ผู้แต่ง : วาสิทธิ์ บุญอาษา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจากสถานพยาบาล อาจได้รับเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจรักษา หากอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ชนิดใช้ซ้ำไม่ได้ผ่านการทำลายเชื้อที่เหมาะสม ดังนั้นอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ทุกชนิดก่อนที่จะสัมผัสร่างกายผู้ป่วย จะต้องลดปริมาณเชื้อโรคให้ต่ำกว่าระดับก่อโรคได้ ด้วยวิธีทำลายเชื้อ ทำให้ปราศจากเชื้อที่ถูกต้อง หน่วยจ่ายกลางเป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นหน่วยที่รวบรวมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานแล้วเข้าสู่กระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนก่อนนำไปใช้ในการตรวจรักษาผู้ป่วยหน่วยจ่ายกลางที่มีระบบ และการดำเนินการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากอุปกรณ์การแพทย์ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ด้านความสะดวกในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งด้านการสนับสนุนการบริหารจัดการภายในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี(1) หน่วยงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ โดยให้ ให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆทั้งหมดในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งในแต่ละวันมีเครื่องมือส่งแลกมากกว่า 500 ชิ้น ซึ่งแต่ละขั้นตอนการทำงานใช้ระยะเวลาในการทำงานนานเจ้าหน้าที่ไม่มีเวลาพักเป็นเหตุให้เหนื่อยล้าไม่มีความสุขในการทำงาน จากการวิเคราะห์ปัญหาจากการทำงาน พบว่ากระบวนการตัดซองสเตอร์ไรด์ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ใช้เวลานาน เนื่องจากจากเครื่องตัดซองพร้อมซีลที่ใช้ในโรงพยาบาล มีความยุ่งยากในการตัดและแพ็คเครื่องมือ โดยเฉพาะเครื่องมือที่ต่างชนิดและต่างขนาดกัน ทำให้ต้องเปลี่ยนม้วนซองในการแพ็คเครื่องมือในแต่ละรอบ ส่งผลให้งานแพ็คเครื่องมือมีความล่าช้า(2) จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้น โดยอาศัยแนวคิดว่า “ถ้าเราตัดซองไว้แยกออกเป็นเครื่องมือแต่ละชนิดตัดไว้เยอะๆเวลาแพ็คก็ครั้งละมากๆต้องลดเวลาในการตัดซองสเตอร์ไรด์ได้แน่นอน” ซึ่งในการพัฒนาผู้ศึกษาได้ประยุกต์ใช้หลักการทำงานของ การใช้กระดาษชำระที่ดึงแล้วฉีก มาดัดแปลงใช้กับงาน และทำการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องให้ใช้ได้ครอบคลุมกับซองสเตอร์ไรด์ทุกขนาด เราจึงคิดค้นจัดทำเครื่องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์แบบเดิม กับเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์พัฒนาขึ้นกับเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรหน่วยงานจ่ายกลางโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 7 คน  
เครื่องมือ : 1. การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อพัฒนาเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. แบบสอบถาม เพื่อประเมินความเหมาะสมของเครื่อง ตัดซองสเตอร์ไรด์ หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. การสนทนากลุ่มย่อยประชุมเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยจ่ายกลาง เพื่อระดมความคิดเห็นศึกษาข้อมูลทางวิชาการถึงความ เป็นไปได้ และหลักการทำงานของเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ 2. ออกแบบลักษณะของเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ ตามความต้องการของผู้ใช้งานในหน่วยงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ 3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ เครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 4. ประดิษฐ์เครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 5. ทดลองใช้เครื่อง ตัดซองสเตอร์ไรด์ ในหน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 6. ปรับปรุงแก้ไขเครื่องตัดซองสเตอร์ไรด์ ตามคำแนะนำของผู้ใช้งาน หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง