ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลผู้ป่วย Sepsis
ผู้แต่ง : คณะกรรมการPCT ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลกมลาไสยเป็นโรงพยาบาลขนาด รพ. 120 เตียง จากการทบทวนเวชระเบียนและการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญพบว่าจำนวนผู้ป่วย Severe Sepsis มีจำนวนที่มากขึ้น ปี 2557-2559 จำนวน 25 ราย, 29 รายและ 54 ราย ตามลำดับ โดยกลุ่มที่พบบ่อย คือ นิวโมเนียเลบโตสไปโรซีสและเซลลูไลติส และยังพบผู้ป่วยเสียชีวิตปี 2557-2559 จำนวน 1 , 1 และ 4 รายตามลำดับ และมีผู้ป่วยมีอาการทรุดลงส่งต่อจำนวนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีคิดเป็นร้อยละ 3.0, 3.9 และ14.06 ตามลำดับ จากการทบทวน พบสาเหตุจากการวินิจฉัยล่าช้าและบุคลากรไม่ปฏิบัติตามแนวทางในการดูแลผู้ป่วย (การประเมินและประเมินซ้ำ การเฝ้าระวังไม่ครอบคลุม Delay Treatment การให้ Antibiotics ล่าช้า)ทำให้สามารถส่งต่อผู้ป่วยที่รวดเร็วและทันเวลามากขึ้น และมีการบูรณาการเข้าระบบ Fast Track เพิ่มขึ้น ปี 2557-2559 คิดเป็นร้อยละ 20, 41.38และ 34.38 เนื่องจากมีระบบการให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์อาการและอาการแสดงของโรคที่จำเป็นต้องรีบเข้ารับบริการทั้งในรพ.สต.และชุมชนซึ่งยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปี 2558-2559 นำแนวทางการประเมินSIRให้มีประสิทธิภาพและใช้เครื่องมือSOS Score มาช่วยในการประเมินผู้ป่วยและประเมินซ้ำ ทำให้สามารถDetectอาการผู้ป่วยได้และส่งต่อทันเวลา  
วัตถุประสงค์ : 1.ผู้ป่วยได้รับการการวินิจฉัยถูกต้องและได้รับการดูแลเหมาะสม 2.ปรับแนวทางการดูแลให้สามารถปฏิบัติได้ง่าย  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วย Sepsis  
เครื่องมือ : กระบวนกลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดทำแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาในหน่วยงาน สื่อสารทีมประชาสัมพันธ์ให้ รับทราบอย่างมีประสิทธิภาพ (SIR Criteria) 2. จัดทำ CPG ในการดูแลผู้ป่วย Sepsis และให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล ที่มาปฏิบัติงานใหม่ 3. สื่อสารแนวปฏิบัติและมอบหมายภารกิจ 3.1 ห้องปฏิบัติการรายงานผล CBC ภายใน 30 นาที 3.2 ห้องยาจ่าย Antibiotics ภายใน 10 นาที 3.3 เริ่มให้ Antibiotics ทันทีตั้งแต่ห้องฉุกเฉินภายใน 1 ชั่วโมง(แพทย์ระบุ with Stat) 3.4 เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ประเมินผลการดูแลตามแบบเฝ้าระวังอาการนำSOS Scoreมาช่วยในการประเมินและรายงานแพทย์ให้แผนการรักษาที่ทันเวลา 4. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องโดยนำเวชระเบียนรายโรคหาAE โอกาสพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา : ระยะที่ 1 (1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2558 ) พบจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย Sepsis จำนวน 289 ราย Septic shock จำนวน 29 ราย ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1ชั่วโมงหลังแพทย์วินิจฉัย คิดเป็น ร้อยละ 93.05 กลุ่ม Sepsis จำนวน 289 ราย ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1ชั่วโมงหลังแพทย์วินิจฉัย คิดเป็น ร้อยละ 87.20 ร้อยละของผู้ป่วยSevere Sepsis ได้รับFluid Resuscitate ภายใน 30 นาที คิดเป็น ร้อยละ 94.40 อัตราการ Turn to shock ในงานผู้ป่วยใน คิดเป็นร้อยละ 4.15 (12 ราย) ระยะที่ 2 (1 ตุลาคม 2558 – 31 มีนาคม 2559) พบว่า ผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยSepsis จำนวน 81 ราย Septic shock จำนวน 54 ราย ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1ชั่วโมงหลังแพทย์วินิจฉัย คิดเป็น ร้อยละ 87.65 ร้อยละของผู้ป่วยSevere Sepsis ได้รับFluid Resuscitate ภายใน 30 นาที คิดเป็น ร้อยละ 90.20 อัตราการ Turn to shock ในงานผู้ป่วยใน คิดเป็นร้อยละ 18.51 (15 ราย)จากการทบทวนการดูแลพบว่าทีมผู้ดูแลบางส่วนไม่ทราบแนวทางปฏิบัติ จึงได้มีการปรับปรุงให้มีการสื่อสารแนวทางปฏิบัติให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : การประชุมนานาชาติ ระดับ ระดับจังหวัด  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)