ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU) ใน รพสต. อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : กัญจน์รัตน์ มาตยวงศ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การใช้ยาอย่างสมเหตุผล หมายถึง การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ มีราคาเหมาะสม ลดต้นทุนยาที่สั่งเกินความจำเป็น คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา ใช้ยาในกรอบบัญชียาอย่างเป็นขั้นตอน (คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ) จากการสำรวจสถานการณ์การใช้ยาในชุมชน ปี 2559 พบว่า ประชาชนยังมีพฤติกรรมผิดๆในการหาซื้อยาปฏิชีวนะใช้เองจากร้านค้า หรือมีการเรียกร้องขอใช้ยาปฏิชีวนะจากเจ้าหน้าที่ผู้สั่งจ่ายยาใน รพสต.บ่อยๆ ในโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งได้กำหนดให้เป็นการพัฒนาระบบบริการสาขาส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(Rational Drug use : RDU) ในแต่ละโรงพยาบาล และหน่วยบริการสาขา ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพสต) ได้กำหนดแนวทาง เครื่องมือและตัวชี้วัด เพื่อให้มีการดำเนินการในสถานพยาบาลต่อเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเกิดความตระหนักถึงปัญหาการใช้ยา และมีการบริหารจัดการด้านยาอย่างเหมาะสมเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในระดับหน่วยบริการสาขาของโรงพยาบาล ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพสต) มีกรอบบัญชียาที่เน้นการใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ส่งเสริมการใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากนี้ จุดเน้นการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับ รพสต. คือ เน้นการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะอย่างรับผิดชอบโดยเฉพาะใน ๒ กลุ่มโรคคือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (RI) และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea : AD) โดยมีเป้าหมาย คือ ใช้ยาปฏิชีวนะน้อยสุดเท่าที่จำเป็น, อัตราใช้ยาปฏิชีวนะไม่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ≤ ร้อยละ 20 (จากข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะของ 6 รพสต.ในอำเภอนามน ไตรมาส ๑ ต.ค.ถึง ธ.ค.2559 พบว่า อัตราใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรค RI เฉลี่ย 6 รพสต.อยูที่ร้อยละ 28.41 ส่วนโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันอัตราใช้ยาปฏิชีวนะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 55.73) เป้าหมายอื่นๆที่สำคัญในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบ ได้แก่ ชะลอการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรีย, ลดค่าใช้จ่ายยาปฏิชีวนะ, ลดความเสี่ยงต่อพิษและผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ, สร้างวัฒนธรรมใหม่ของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบทั้งในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มผู้ป่วย ผู้บริโภค  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะ ลดอัตราการสั่งจ่ายยาปฎิชีวนะแก่ผู้ป่วยใน ๒ กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (RI)และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea : AD) ) ให้ไม่มากกว่าเกณฑ์ทีกำหนดคือ≤ ร้อยละ 20 ๒. เพื่อหาเครื่องมือ ตัวช่วยในการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะใน ๒ กลุ่มโรค (RI, AD)อย่างเหมาะสมแก่เจ้าหน้าที่ผู้สั่งจ่ายยาใน รพสต.อำเภอนามน รวมทั้งผู้ป่วย ผู้บริโภค ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น  
กลุ่มเป้าหมาย : ๑.เจ้าหน้าที่ผู้สั่งใช้ยาใน รพสต. ๒.เจ้าหน้าที่ผู้บันทึกข้อมูลใน รพสต.  
เครื่องมือ : ๑. แบบประเมินความเข้าใจการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะใน ๒ กลุ่มโรค (Respiratory infection : RI, Acute diarrhea : AD) ของบุคลลากรผู้สั่งจ่ายยาใน รพสต. ๒. ICD-10 ของ ๒ กลุ่มโรค (Respiratory infection : RI, Acute diarrhea : AD) ๓. รูปภาพเกณฑ์การสั่งใช้ยาปฎิชีวนะใน ๒ กลุ่มโรค (Respiratory infection : RI, Acute diarrhea : AD) ๔. แผ่นภาพ แผ่นพลิก หรือโปสเตอร์ เพื่อใช้ช่วยอธิบายผู้ป่วยให้เกิดความเข้าใจถึงความเหมาะสมในการใช้และไม่ใช้ยาปฎิชีวนะ ๕. แนวทางการใช้ยาปฎิชีวนะใน ๒ กลุ่มโรค ๖. ระบบเตือนเมื่อมีการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะ ในโปรแกรมของ รพสต.  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ออกแบบ แบบประเมินบุคลากร ด้านการสั่งจ่ายยาปฎิชีวนะใน ๒ กลุ่มโรค (Respiratory infection : RI, Acute diarrhea : AD) 2. ผู้ศึกษาวิจัยขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรผู้สั่งจ่ายยาใน รพสต. บุคลากรผู้บันทึกข้อมูลการสั่งใช้ยาใน รพสต. 3. จัดอบรม หรือให้ข้อมูล ทำความเข้าใจกับผู้สั่งจ่ายยาและผู้บันทึกข้อมูลการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยของ รพสต. 4. .ประเมินความเข้าใจ ปัญหาของผู้เข้าร่วมอบรมในเรื่องการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะอย่างเหมาะสมใน ๒ กลุ่มโรค (Respiratory infection : RI, Acute diarrhea : AD) 5. เก็บรวมรวม วิเคราะห์อัตราการสั่งจ่ายยาปฎิชีวนะใน ๒ กลุ่มโรค (Respiratory infection : RI, Acute diarrhea : AD) เปรียบเทียบข้อมูลก่อน-หลังอบรม หรือให้ข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง