ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาสมรรถนะการบันทึกทางการพยาบาล
ผู้แต่ง : สุนิตา ตันสมรส ,กรรณิกา สุตนนท์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : บันทึกทางการพยาบาลมีความจำเป็นและสำคัญอย่างมาก สำหรับบุคลากรทางการพยาบาลโดยบันทึกทางการพยาบาลที่มีคุณภาพจะช่วยให้เกิดความครบถ้วนของข้อมูล สามารถนำข้อมูลจากการบันทึกมาใช้ร่วมกับกระบวนการพยาบาลเพื่อให้เกิดความเป็นระบบภายใต้ขอบเขตของวิชาชีพ รวมทั้งสามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ และสามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ ซึ่งบันทึกทางการพยาบาลที่ถูกต้องและมีความครบถ้วนส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการยืนยันคุณภาพการบริการพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลได้ให้ความสำคัญกับการบันทึกทางการพยาบาลเป็นอย่างมาก โดยมีการประเมินระบบบันทึกทางการพยาบาลในทุกๆปี และจากการประเมินการบันทึกทางการพยาบาลของหน่วยงานกุมารเวชกรรมในปีที่ผ่านมา พบว่าร้อยละของความสมบูรณ์ของระบบบันทึกทางการพยาบาล เฉลี่ยได้ร้อยละ 66.5 ซึ่งไม่ถึงร้อยละ 80 ทั้งที่จำนวนคนไข้และกลุ่มโรคก็ไม่ซับซ้อน ดังนั้นทางตึกผู้ป่วยกุมารเวชกรรมจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและสนใจที่จะดำเนินโครงการพัฒนาสมรรถนะการบันทึกทางการพยาบาลขึ้น เพื่อให้การบันทึกทางการพยาบาลมีความสมบูรณ์ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ ความถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานทางการพยาบาล  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อพัฒนาทักษะการบันทึกทางการพยาบาลให้มีความครบถ้วน ถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานทางการ พยาบาล 2.เพื่อพัฒนาทักษะการบันทึกทางการพยาบาลให้ได้มาตรฐานตามแนวทางการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน 3. เพื่อนำข้อมูลจากการบันทึกทางการพยาบาลไปใช้ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง  
กลุ่มเป้าหมาย : พยาบาลตึกกุมารเวชกรรม  
เครื่องมือ : ตารางการประเมินผลของการบันทึกทางการพยาบาล  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. รวบรวมข้อมูลจากการสอบถาม 2. วิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการของเจ้าหน้าที่ตึกกุมารเวชกรรม 3. วางแผนการจัดทำโครงการ 4. เสนอโครงการกับหัวหน้างาน 5. จัดเตรียมโครงการ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ประชุมเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อชี้แจงความสำคัญของการบันทึกทางการพยาบาลที่สมบูรณ์และรับทราบหลักการประเมินการบันทึกทางการพยาบาลและแนวทางการบันทึกทางการพยาบาลที่ถูกต้องตามกระบวนการพยาบาลวิชาชีพ 2. วิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการของเจ้าหน้าที่ตึกกุมารเวชกรรม 3. ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติในการบันทึกทางการพยาบาล 4. สุ่มประเมินบันทึกทางการพยาบาลทุกวันในเวรเช้า โดยพยาบาลหัวหน้าเวรพร้อมนิเทศแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการสุนทรียสนทนาในที่ช่วง Pre-post conference ของทุกวัน 5 .สรุปผลทุกเดือน พร้อมวิเคราะห์โดยหัวหน้างาน และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง