|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การใช้รูปแบบสมาธิบำบัด(SKT) เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง |
ผู้แต่ง : |
จันทร์เพ็ญ สีเครือดง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, นาถนรินทร์ ทรัพย์กุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากข้อมูลการสำรวจภาวะสุขภาพของบุคลากร โรงพยาบาลคำม่วง ปี 2558 พบว่าบุคลากรมีดัชนีมวลกายระดับท้วมและอ้วน คิดเป็นร้อยละ 21.58 และ 25.26 มีรอบเอวเกินมาตรฐาน (อ้วนลงพุง) คิดเป็นร้อยละ 30.65 และพบผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวานจำนวน 11 ราย โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 10 ราย อัตราการควบคุมความดันโลหิตตามเป้าหมาย(BP <140/80 mmHg)ได้เพียงร้อยละ 20 ซึ่งบุคลากรกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลคำม่วง มีความมุ่งหวังให้คนในองค์กรเป็นต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพ สนับสนุนให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังนั้นจึงได้มีการนำรูปแบบสมาธิบำบัด (SKT) มาใช้ในการปรับพฤติกรรมในบุคลากรทั่วทั้งองค์กรและเน้นหนักในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูงจำนวน 10 ราย มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องทุก 1 เดือน |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. บุคลากรกลุ่มเป้าหมายมีการนำรูปแบบสมาธิบำบัด(SKT) มาใช้ในการปรับพฤติกรรม
2. บุคลากรกลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
บุคลากรในโรงพยาบาลคำม่วงที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดจำนวน 10 ราย |
|
เครื่องมือ : |
1.รูปแบบสมาธิบำบัด(SKT)
2.แบบรายงานประเมินผล |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรในโรงพยาบาลคำม่วงที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดจำนวน 10 ราย มีการจัดกลุ่มประชุมแจ้งแนวทางการดูแลแก่กลุ่มเป้าหมาย นัดเข้าศูนย์เรียนรู้แพทย์ทางเลือกสอนและสาธิตรูปแบบสมาธิบำบัด(SKT) จำนวน 7 ท่า มีการติดตามประเมินผล ทุก1เดือน จำนวน 2 ครั้ง ประเมินระดับความดันโลหิต น้ำหนัก รอบเอว ก่อนและหลังการดำเนินการ 2 เดือน และนำมาวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
เปรียบเทียบระดับความดันโลหิตก่อนและหลังดำเนินการ พบว่ามีอัตราการควบคุมความดันโลหิตดีขึ้นก่อนการดำเนินงาน อัตราการควบคุมร้อยละ 20 หลังการดำเนินงานอัตราการควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 |
|
ข้อเสนอแนะ : |
จากการดำเนินงานพบว่ามีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบสมาธิบำบัด(SKT) เป็นการฝึกลมหายใจ สามารถช่วยในด้านจิตใจให้คลายเครียด ซึ่งความเครียดนั้นมีผลเพิ่มความดันโลหิต การฝึกสมาธิบำบัดเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดในร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|