|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยรักและอาทร |
ผู้แต่ง : |
นางสุมาลี เขตบรรจง ,น.ส.รจนา ไชยสรรพ์, น.ส.ปาริฉัตร ประวันเนา |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ความตายเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เมื่อมีบุคคลใดที่กำลังเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต ท่านเหล่านี้และครอบครัวส่วนใหญ่มักมีความหวาดกลัว วิตกกังวล มีความทุกข์ ทรมานอย่างหนักโดยเฉพาะผู้ป่วย หลายคนมีความเจ็บปวดและทรมานจากปัญหาหลายด้าน เช่น ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ จิตสังคมและด้านจิตวิญญาณ
จากการศึกษาเอกสารตำรา งานวิจัย และการบริการสุขภาพที่บ้านด้านการให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งในโรงพยาบาลหนองกุงศรีและในชุมชน พบว่า การที่จะทำให้ผู้ป่วยที่กำลังใกล้ความตายและญาติ ๆ สามารถเผชิญความทุกข์เหล่านั้นและผ่านพ้นไปด้วยดี โดยผู้ป่วยจากโลกไปอย่างสงบ เสียชีวิตอยู่ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก บรรยากาศสูญเสียแต่อบอุ่นและมีเมตตาต่อกัน เป็นสิ่งที่ดีงามที่เพื่อนมนุษย์ควรปฏิบัติต่อกัน ดังนั้นงานบริการสุขภาพที่บ้านจึงผสมผสานการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าด้วยกัน เป็นการดูแลที่ต่อเนื่องแก่บุคคลทุกกลุ่มวัย จึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยรักและอาทรปี๒๕๕๙ขึ้นซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
|
|
วัตถุประสงค์ : |
๑.เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็ง/ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวม และHumanize
๒.เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็ง/ผู้ป่วยระยะสุดท้าย และบุคคลในครอบครัว สามารถ coping ได้อย่างเหมาะสมตามบริบท
๓.เมื่ออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต ได้ตายอย่างสงบสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากรในเขตอำเภอหนองกุงศรี ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย จำนวน ๕๐ ราย |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินความพึงพอใจ ,แบบประเมินPPS, หนังสือธรรมะ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ขั้นเตรียมการ โดย จัดประชุมผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูล สร้างความเข้าใจ ขอความร่วมมือ มอบหมายบทบาท/หน้าที่และร่วมวางแผนงาน/โครงการ
ขั้นดำเนินการ ดังนี้
๒.๑ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องค้นหาผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน เพื่อทราบข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
๒.๒ สหสาขาวิชาชีพร่วมกับหลายภาคส่วน ประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้แบบประเมินPPS และประเมินความต้องการของผู้ป่วย/ครอบครัวตามความเชื่อ ความศรัทธา วัฒนธรรมประเพณีและให้บริการตามสภาพปัญหา โดยการแพทย์และการพยาบาลเน้นการลดความปวดและเพิ่มความสุขสบาย สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น เอื้ออาทรและเป็นกัลยาณมิตร
๒.๓ ในสถานบริการ จัดบริการลดความปวด เน้นความสะอาด สงบ และความสุขสบาย
๒.๔ ในชุมชนบริการลดความปวด เน้นความสะอาด สงบ และความสุขสบายเช่น การให้ออกซิเจนที่บ้าน รวมทั้งการประสาน อสม. อผส. จิตอาสา ผู้นำชุมชน รพ.สต. อปท. ให้การดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
๒.๕ แลกเปลี่ยนธรรมะเรื่องบุญกุศล ความตาย เพื่อการปล่อยวางและบรรเทาทุกข์โศก
๒.๖ หลังความตาย เข้าร่วมพิธีงานศพตามความเหมาะสม และเยียวยาด้านจิตใจแก่บุคคลในครอบครัวของผู้ตาย
๒.๗ ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ป่วย ญาติ ครอบครัว
๒.๘ สรุป/ประเมินผล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|