|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวในคนพิการทางการเห็น หลักสูตรพัฒนาโดยครูฝึกของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ |
ผู้แต่ง : |
ภาวินี ลาโยธี |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
คนพิการทางการเห็น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) ตาบอด หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการ เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า ๓ ส่วน ๖๐ เมตร (๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต (๒๐/๔๐๐) ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๑๐ องศา
2) ตาเห็นเลือนราง หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่า เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับตั้งแต่ ๓ ส่วน ๖๐ เมตร (๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต (๒๐/๔๐๐) ไปจนถึงแย่กว่า ๖ ส่วน ๑๘ เมตร (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ ฟุต (๒๐/๗๐) หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๓๐ องศา (อ้างอิง: ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2552)
ความพิการทางการเห็นทำให้เกิดข้อจำกัดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น คุณภาพชีวิตลดลง ขาดบทบาทในสังคม ขาดอิสระในการใช้ชีวิต สมรรถภาพทางกายลดลง เสี่ยงต่อการล้ม มีภาวะซึมเศร้า แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น (อ้างอิง: Ballemans และคณะ, 2011; Zijlstra และคณะ, 2009) ปัจจุบันในประเทศไทยมีคนพิการทางการเห็นจำนวน 186,605 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 208,000 คน ในปี พ.ศ.2562 (อ้างอิง: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, 2560)
การฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation and Mobility; O&M) หมายถึง การฝึกให้คนพิการทางการเห็นรู้จักการใช้ประสาทสัมผัสที่มีอยู่ ได้แก่ สายตาบางส่วน การฟังเสียง การสัมผัส การดมกลิ่น และประสบการณ์เดิม เพื่อทำให้ตัวเขาเองได้รู้ว่า ณ เวลานั้นตัวเขาอยู่ที่ไหน สถานที่หรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอะไรบ้าง และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวหรือเดินทางโดยใช้ไม้เท้าขาว ไปยังสถานที่หรือสิ่งของที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง สง่างาม และปลอดภัยได้ด้วยตนเอง (อ้างอิง: แฉล้ม แย้มเอี่ยม, 2555) การฝึก O&M ได้รับการส่งเสริมให้ดำเนินการทั่วประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 โดยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ได้ดำเนินการให้บริการการฝึก O&M ตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 และได้ทำการศึกษาติดตามผลการฝึก O&M ในคนพิการทางการเห็น พบว่า คนพิการทางการเห็นมีคุณภาพการทำทักษะ O&M อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ คนพิการทางการเห็นใช้ทักษะ O&M ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน คนพิการทางการเห็นมีความสามารถในการทำกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น และมีความภาคภูมิใจแห่งตนเพิ่มมากขึ้น (อ้างอิง: ภาวินี ลาโยธี, น้อมจิตต์ นวลเนตร์; 2559) จากการศึกษาดังกล่าว ได้มีข้อเสนอแนะในการศึกษาในครั้งต่อไป ในเรื่องการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทของคนพิการทางการเห็นในพื้นที่มากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อประเมินคุณภาพการทำทักษะ O&M ของคนพิการทางการเห็น ที่ผ่านการฝึกหลักสูตรพัฒนาโดยครูฝึกของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
2. เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของคนพิการทางการเห็น ที่ผ่านการฝึกหลักสูตรพัฒนาโดยครูฝึกของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
คนพิการทางการเห็นจำนวน 40 คน |
|
เครื่องมือ : |
1.แบบประเมินคุณภาพการทำทักษะ O&M ของคนพิการทางการเห็น
(อ้างอิง: ภาวินี ลาโยธี, น้อมจิตต์ นวลเนตร์; 2559)
2.แบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของคนพิการทางการเห็น
(อ้างอิง: ภาวินี ลาโยธี, น้อมจิตต์ นวลเนตร์; 2559
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ชี้แจงรายละเอียดการศึกษาให้อาสาสมัครทราบ และให้อาสาสมัครลงชื่อยินยอมเข้าร่วมการศึกษา
2.เก็บข้อมูลความสามารถในการทำกิจกรรมของอาสาสมัครก่อนการฝึก
3.ดำเนินการฝึก O&M หลักสูตร 80 ชั่วโมง ระยะเวลา 4 สัปดาห์
4.เก็บข้อมูลคุณภาพการทำทักษะ O&M หลังฝึกทันที และความสามารถในการทำกิจกรรมของอาสาสมัครหลังฝึกทันที
5.เก็บข้อมูลคุณภาพการทำทักษะ O&M หลังฝึก 4 สัปดาห์ และความสามารถในการทำกิจกรรมของอาสาสมัครหลังฝึก 4 สัปดาห์
6.วิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|