|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงและบทบาทของเภสัชกรในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยเพื่อชะลอการเสื่อมของไต |
ผู้แต่ง : |
ประวิทย์ อ่อนพรรณา |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหาภาวะการทำงานบกพร่องทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน เป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก รวมถึงประเทศไทย ประเทศไทยมีความชุกของการเป็นโรคไตวายเรื้อรังประมาณร้อยละ 20 ซึ่งถือว่าสูงเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริมและสมุนไพรเป็นอีกสาเหตุหลักหนึ่งที่ถูกระบุอย่างชัดเจนว่าทำให้ไตเสื่อมได้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ระบบการควบคุมและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพยังไม่รัดกุมและขาดข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือในการจัดการกับปัญหานี้อย่างเหมาะสม |
|
วัตถุประสงค์ : |
การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ไตวายเรื้อรังหรือเฉียบพลัน เพื่อวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของสาเหตุการเป็นพิษต่อไต รวมถึงการหาแนวทางการจัดการของวิชาชีพเภสัชกรที่เหมาะสมเพื่อชะลอการเสื่อมของไต |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยไตวายและเฉียบพลัน |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ทบทวนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตร่วมกับเภสัชกรและสหสาขาวิชาชีพ
2. ออกแบบแบบสอบถามผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไต
3. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ (Reliability) แบบสอบถามผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ (แพทย์ เภสัชกร พยาบาล)
4. ทดสอบความเที่ยง (Validity) แบบสอบถามโดยใช้กับอาสาสมัครกลุ่มย่อย (10 คน)
5. เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตในกลุ่มอาสาสมัครเป้าหมายผู้ป่วย (กลุ่มผู้ป่วยนอก กลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กลุ่มผู้ป่วยในไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการรายงานแบบ intensive) และประชาชนทั่วไป (เลือกโดยเฉพาะเจาะจง)
6. สรุปผลการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม
7. วิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตและตัวชี้วัดทางชีวภาพทั้งแบบเชิงปริมาณ (ชนิด ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย) และคุณภาพ (ความเป็นไปได้ในความเป็นพิษต่อไตของผลิตภัณฑ์นั้น โดยอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ)
8. วิเคราะห์บทบาทวิชาชีพเภสัชกรในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตในมุมมองของงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขและบริบาลเภสัชกรรมทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน
9. รายงานการสรุปผลและการวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบทบาทวิชาชีพเภสัชกรในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไต แก่สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
10. มีส่วนร่วมในการหาแนวทางจัดการเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ทั้งการส่งเสริม เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไต
1.ทบทวนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตร่วมกับเภสัชกรและสหสาขาวิชาชีพ
2.ออกแบบแบบสอบถามผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไต
3.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ (Reliability) แบบสอบถามผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ (แพทย์ เภสัชกร พยาบาล)
4.ทดสอบความเที่ยง (Validity) แบบสอบถามโดยใช้กับอาสาสมัครกลุ่มย่อย (10 คน)
5.เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตในกลุ่มอาสาสมัครเป้าหมายผู้ป่วย (กลุ่มผู้ป่วยนอก กลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กลุ่มผู้ป่วยในไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการรายงานแบบ intensive) และประชาชนทั่วไป (เลือกโดยเฉพาะเจาะจง)
6.สรุปผลการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม
7.วิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตและตัวชี้วัดทางชีวภาพทั้งแบบเชิงปริมาณ (ชนิด ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย) และคุณภาพ (ความเป็นไปได้ในความเป็นพิษต่อไตของผลิตภัณฑ์นั้น โดยอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ)
8.วิเคราะห์บทบาทวิชาชีพเภสัชกรในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไตในมุมมองของงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขและบริบาลเภสัชกรรมทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน
9.รายงานการสรุปผลและการวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบทบาทวิชาชีพเภสัชกรในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไต แก่สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
10.มีส่วนร่วมในการหาแนวทางจัดการเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ทั้งการส่งเสริม เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงเป็นพิษต่อไต
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|