|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะถ่ายขี้เทาของทารกที่คลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ |
ผู้แต่ง : |
วรรณภา พันธุโพธิ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ภาวะการถ่ายขี้เทาในน้ำคร่ำของทารกในครรภ์ เป็นภาวะที่พบบ่อยในครรภ์ครบกำหนดและครรภ์เกินกำหนดของมารดาคลอด ซึ่งเป็นภาวะที่สำคัญที่ทำให้อัตราการป่วยของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์เพิ่มขึ้น จากสถิติในปี พ.ศ. 2556 – 2558 อัตราการคลอดของมารดา จำนวน 2215ราย พบทารกมีภาวะถ่ายขี้เทา ปนในน้ำคร่ำ จำนวน 221 ราย อาการและความรุนแรงของการป่วยขึ้นอยู่กับภาวะการสูดสำลักขี้เทาของเด็กทารก
ดังนั้นผู้วิจัย จึงได้ทำการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะถ่ายขี้เทาของทารกที่คลอดในห้องคลอดของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ โดยเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง
เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนมารดาคลอดที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ ตั้งแต่ เดือน มกราคม 2556 – ธันวาคม 2558มีเกณฑ์เพื่อการคัดเลือกประชากรออกจากการศึกษาคือ มารดาตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไป และ อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ มีโรคประจำตัวหรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษ และโรคติดเชื้อทางพันธุกรรม คลอดน้ำหนักทารกน้อยกว่า 2500 กรัมหรือมีภาวะ IUGR วัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของทารกต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะถ่ายขี้เทาของทารกที่คลอดในห้องคลอด
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. ได้ทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ทำให้ทารกถ่ายขี้เทาในครรภ์มารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
2. ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารก
|
|
เครื่องมือ : |
ทะเบียนคลอด |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. เก็บรวบรวมข้อมูลมารดาคลอดที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2558 จำนวน 222 ราย
2. นำข้อมูลมาวิเคราะห์
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|