|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย Ischemic stroke โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ |
ผู้แต่ง : |
เพ็ญประภา แสงพิศาล
ภัทริยา อัยวรรณ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคหลอดเลือดสมอง( stroke)เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทั่วโลก ในประเทศที่พัฒนาแล้ว พบเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นอันดับ 3 รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง รายงานจาก WHO มีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกประมาณ 15 ล้านคนในแต่ละปี และพบโดยเฉลี่ยทุกๆ 6 วินาที จะมีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อย 1 คน โดยในปี พ.ศ. 2563 จะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นอกจากนั้นยังพบว่า โรคหลอดเลือดสมองยังเป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะ (disability adjusted life year; DALY) ที่สำคัญอันดับ 2 ทั้งในชายและหญิง(World Health Organization,2015)
ในประเทศไทยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 3 ในเพศชายรองจากอุบัติเหตุจราจรและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอันดับที่ 2 ในเพศหญิงรองจากโรคเบาหวานและเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียปีสุขภาวะที่สำคัญของประเทศ ในปี พ.ศ. 2552 (สถิติกระทรวงสาธารณสุข,2556) นอกจากนี้ยังพบว่าโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ มีอัตราป่วยทั่วประเทศ 252.59 ต่อประชากร 100,000 คนในปี พ.ศ. 2547 และเพิ่มเป็น 354 ต่อประชากร 100,000 คนในปี พ.ศ. 2555 (สมาคนโรคหลอดเลือดสมองไทย, 2557) โดยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) ร้อยละ 70-75 และโรคหลอดเลือดสมองแตกประมาณร้อยละ 25-30 (สถาบันประสาทวิทยา. 2550) โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง แม้ไม่เสียชีวิต ก็จะก่อให้เกิดความพิการในระยะยาว อาจต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดชีวิตในเรื่องกิจวัตรประจำวันสูง ดังนั้นการป้องกันและรักษาจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะควบคุมโรคนี้และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น (พรภัทร, 2552)
สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ปี 2557- 2559 มีจำนวน 115, 130 และ 130 รายตามลำดับ เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบปี 2557- 2559 ร้อยละ 77.4, 80 และ 84.6 และหลอดเลือดสมองแตกร้อยละ 22.6 , 20 และ 15.4 พบว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชน มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากเลือดออกในสมองคือการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ส่วยการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน มีระบบ Fast track ที่สามารถให้ยา rtPA ได้ และผู้ป่วยป่วยจะได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม และจากระบบการดูแลผู้ป่วยยังพบว่าผู้ป่วยมีการเสียชีวิต ร้อยละ 17 และพบภาวะแทรกซ้อนคือ ปอดอักเสบจากการสำลักและติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 3.4 หน่วยงานจึงเห็นความสำคัญในการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับไว้รักษา จึงได้จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐานในขณะนอนโรงพยาบาลและพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตต่อเนื่องที่บ้าน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ
2. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ(Ischemic stroke) รายใหม่ที่เข้ารับการรักษาและจำหน่ายที่ตึกอายุรกรรม รพร.กุฉินารายณ์ |
|
เครื่องมือ : |
1. Clinical pathway ในผู้ป่วย Ischemic stroke
2. แบบประเมิน bathel index Score
3. แบบประเมิน NIHSS
4. แบบประเมิน N/S
5. แบบประเมินการกลืน |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่นอนโรงพยาบาล 3 ปีย้อนหลัง (57-59)
2.ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ
3.ร่วมกับองค์กรแพทย์ อายุรแพทย์ในการจัดทำแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และร่วมกับองค์กรพยาบาลในการในการทำ CNPG stroke
เสนอใน CLT อายุรกรรม
4.ประชุมเพื่อสื่อสารแนวทางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กายภาพ โภชนากร ทีมเยี่ยมบ้าน)
5.ประชุมหน่วยงาน สื่อสารแนวทางให้เข้าใจ training ในการใช้แบบประเมินที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย
แบบประเมิน bathel index Score
แบบประเมิน NIHSS
แบบประเมิน N/S
แบบประเมินการกลืน
6.กำหนด และเก็บรวบรวมข้อมูล
7.วิเคราะห์ข้อมูล
8. KM เกี่ยวกับปัญหาที่พบในการนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยไปใช้ และปรับปรุงแนวทางการดูแล ผ่าน CLT อายุรกรรม
9.ประเมินและสรุปผลการปฏิบัติงาน
10. ความสำคัญ
11. ประเภทผลงาน(เรื่องเล่า r2r CQI งานวิจัย)
12. สถานะ(จัดทำโครงร่าง เสนอโครงร่าง เก็บข้อมูล วิเตราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จำทำรายงาน)
กำลังจัดทำโครงร่าง
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|