|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลคุณธรรม เพื่อการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้สุนทรียสนทนา และการคิดเชิงสร้างสรรค์ระบบบริบทโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ปี2560 |
ผู้แต่ง : |
อดาวัน ชมศิริ และคณะ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศคือ การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พัฒนาทักษะให้คนมีการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากการฝึกฝนเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะปลูกฝังทักษะการพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น สอดรับกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข(พ.ศ.2555-2559) ในด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรซึ่งมีบทบาทหลักในการให้บริการด้านสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมุ่งหมายให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการบริการที่มีคุณภาพ บุคลากรมีความสุขในการทำงาน สร้างธรรมาภิบาลในการบริหาร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับกลาง(M2) ขนาด 160 เตียง กำหนดพันธกิจให้เป็นรพ.ดูแลแบบองค์รวมที่เป็นเลิศ มีนโยบายให้ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ผู้ให้บริการต้องเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้รับบริการ ด้วยการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจความรักที่มีต่อตนเองและผู้รับบริการ เพื่อก่อให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ รวมถึงการรับรู้การถ่ายทอดพลังจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน เพื่อการบำบัดเยียวยา โดยโรงพยาบาลดำเนินการพัฒนาจิตตปัญญาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2553 ซึ่งเริ่มจากผู้บริหารทุกระดับ ทีมนำทุกด้าน รวมทั้งแพทย์เฉพาะทาง หลักสูตรการสร้างพลังกลุ่ม วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมเพื่อ 1) ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตน 2) สร้างความสามัคคีของบุคลากร 3) ให้เกิดการทำงานเป็นทีม 4)มีความสุข และขยายเป็นบุคลากรทุกระดับ จากการอบรมพบว่าบุคลากรส่วนหนึ่งยังขาดความสุขในการทำงาน ขาดความมีชีวิตชีวา และความตื่นตัวในการเรียนรู้ จึงมีการพัฒนากระบวนกร และพัฒนาเชิงลึกในหน่วยงานนำร่องคือตึกผู้ป่วยกุมารเวชกรรมและตึกผู้ป่วยพิเศษ
คำถามการวิจัย
1.รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลคุณธรรมเพื่อการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้สุนทรียสนทนาเป็นอย่างไร
2.รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลคุณธรรมเพื่อการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้สุนทรียสนทนามีประสิทธิผลเป็นอย่างไร
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1) เพื่อพัฒนาการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงสร้างสรรค์
3) พัฒนาให้บุคลากรมีความสุข |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
บุคลากรในตึกผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 12 คน ผู้ช่วยเหลือผู้ ป่วย 3 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบบันทึกการใช้สุนทรียสนทนา และการเรียนรู้
แบบสอบถามความสุข
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ขั้นเตรียมการ
1. กำหนดรูปแบบการทำกิจกรรม คือ
1.1.กิจกรรมกลุ่มสุนทรียสนทนา โดยแบ่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 7-10 คน กลุ่มละ 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 เดือน ใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น.
กิจกรรมครั้งที่1. ดังนี้ - แจ้งวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
- ทบทวนหลักการสุนทรียสนทนา
- ทบทวนหลักการทำสมาธิ และการฝึกสติ
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดของสมาชิกกลุ่ม ผ่านการสะท้อนคิดของกระบวนกรหรือนวัตกร
กิจกรรมครั้งที่2. ติดตามประเมินผลโดยการแลกเปลี่ยน อีก 2 ครั้ง
2. จัดทำเครื่องมือเก็บข้อมูล
3. สรุปบทเรียนหลังดำเนินการ 1 เดือน
2. ขั้นดำเนินการ ดำเนินตามรูปแบบ คือ
กิจกรรมครั้งที่1. มีกิจกรรมดังนี้
1. การฝึกสติอยู่กับปัจจุบันขณะ (Here & Now) โดยใช้หลัก 2-4-8 ของกรมสุขภาพจิต เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมอยู่กับตัวเอง มีสติเตรียมความพร้อมที่จะรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. การ Check in โดยใช้หลักการของตะกร้า 3 ใบ คือ
- ตะกร้าใบที่ 1 รู้สึกอย่างไร
- ตะกร้าใบที่ 2 มีความคาดหวังอะไร
- ตะกร้าใบที่ 3 จะนำไปใช้อย่างไร
3. ทบทวนหลักของการใช้สุนทรียสนทนา 4 ขั้นตอน คือ การฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังด้วยความเคารพ แบ่งปันพื้นที่ ห้อยแขวนการตัดสิน และสะท้อนความรู้สึกที่เป็นจริง
4. ฝึกการใช้สุนทรียสนทนาผ่านเรื่องเล่า (Story telling) ในประเด็น “ความประทับใจในการปฏิบัติงาน” โดยให้แต่ละคนเล่าประสบการณ์จริงที่อยากเล่าแก่ผู้ร่วมกิจกรรมฟัง ซึ่งทีมกระบวนกรจะช่วยในการสะท้อนคิดเพื่อเป็นการเสริมพลังทางบวก ให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่า เกิดความภาคภูมิใจ เกิดแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ
5. ฝึกการวิเคราะห์บทเรียนผ่านการสะท้อนคิด (Reflective Dialogue) โดยร่วมกันสะท้อนมุมมองที่คล้ายกัน/ แตกต่างกันในประเด็นที่ได้จากการเรียนรู้จากเรื่องเล่าความประทับใจในการปฏิบัติงาน เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) จากความคิดของผู้เรียนที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ทั้งคล้ายกันและสอดคล้องกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่น ผลลัพธ์ของกระบวนการคือการสรุปเนื้อหาของการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
6. การ Check out โดยใช้กิจกรรมตะกร้า 3 ใบ เพื่อให้ใคร่ครวญไตร่ตรองทบทวนตนเอง ประเมินการเรียนรู้การเปลี่ยนผ่านตนเอง
- ตะกร้าใบที่ 1 รู้สึกอย่างไร
- ตะกร้าใบที่ 2 ได้เรียนรู้อะไร
- ตะกร้าใบที่ 3 จะนำไปใช้อย่างไร
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|