ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบัวขาว
ผู้แต่ง : อำนวยพร ซองศิริ ดารินทร์ วะสัตย์ ฉวีวรรณรัตนวรรณี สาวกรุณา ขอราศี ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบัวขาวรับผิดชอบพื้นที่ 16 หมู่บ้าน ประชากร15,000 คน ( )มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด1,079ราย (แฟ้มข้อมูลโรคเรื้อรัง ) ให้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบัวขาว พบว่าผู้ป่วยมีจำนวนมาก รอคอยนาน ประชาชนไม่พึงพอใจ ส่งผลให้คุณภาพการดูแลได้ไม่ดี ตัวชี้วัดไม่ผ่านเกณฑ์ จึงได้มีการปรับระบบบริการ โดยคัดกรองผู้ป่วยที่สามารถควบคุมโรคได้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยและผู้ป่วยเบาหวานที่ไตวาย 5 ปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตให้รับบริการที่ สุขศาลา หมู่ 2,3,4,12,16 และ อบต.หมู่ 5,6,7,8 ,10,14 เปิดให้บริการในวันจันทร์ อังคารทุกอาทิตย์ โดยหมุนเวียน ผู้ป่วยจะได้รับบริการเดือนละครั้ง และอีกกลุ่มคือในศูนย์สุขภาพชุมชนเปิดให้บริการวันจันทร์ และอังคาร รับผู้ป่วย พื้นที่ หมู่1,9,11,13,15และผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ทุกหมู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ปัญหาที่พบในกลุ่มรับบริการในศูนย์สุขภาพชุมชน คือตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลยังไม่ผ่าน เช่น การตรวจ Lab ประจำปีไม่ผ่านเกณฑ์ การควบคุมระดับเบาหวาน A1C < 7% ไม่ผ่านเกณฑ์ จากการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชนพบว่า ไม่มีกระบวนการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานรายกลุ่ม ส่วนในรายบุคคลให้ได้อย่างไม่ทั่วถึง เพราะทำเฉพาะในห้องตรวจ แต่ด้วยข้อจำกัดเพราะตรวจรวมกันกับผู้ป่วยอื่นๆทำให้รอนาน เกิดความไม่พึงพอใจ ผู้ป่วยบางรายที่ผลตรวจน้ำตาลสูงไม่ได้ถูกดูแล แบบเฉพาะราย ส่งผลให้ไม่สามารถค้นหาปัญหาที่แท้จริงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นๆได้ จึงสนใจประเด็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบัวขาว  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษารูปแบบ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบัวขาว อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 2. เพื่อพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยเบาหวานของคลินิกเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบัวขาว อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. เจ้าหน้าที่ในคลินิกเบาหวาน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์แผนไทย ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2. ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 จำนวน1,079 คน  
เครื่องมือ : 1. CPG การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 2. แบบประเมินความพึงพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษา นโยบาย ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับงานคลินิคเบาหวาน 2. ประชุมคณะทำงานคลินิกเบาหวาน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทบทวนกิจกรรมและผลลัพธ์ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิค 3. ศึกษาดูงานคลินิกเบาหวานต้นแบบ ที่ รพ.กมลาไสย ขั้นดำเนินงานและการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบบริการ การทำบัตร (ผู้ป่วยไม่ต้องไปยื่นทำบัตร) 1. ผู้รับผิดชอบเชคและprintรายชื่อผู้ป่วยที่นัดไปให้ห้องบัตรก่อนวันนัดอย่างน้อย 1 วัน 2. เจ้าหน้าที่ห้องบัตรส่งชื่อผู้ป่วยเข้าระบบเพื่อVisitในวันที่นัดโดยไม่ต้องprint ใบคิว 3. ในกรณีที่คนไข้ที่ต้องเจาะLabประจำปี ผู้รับผิดชอบจะทำเครื่องหมาย** ที่หน้าชื่อเพื่อให้ปริ้นบัตรคิวให้ด้วย จัดบริการ กึ่ง one stop service ในคลินิคเบาหวาน 1. ผู้ป่วยรับบัตรคิว เวลา 06.00 น. (ไม่ต้องมารับบัตรคิวตั้งแต่ 02.00 น.หรือ จ้างคนมารับบัตรคิวให้) 2. เจาะ DTX ปลายนิ้ว 3. วัดV/S,ซักประวัติเขียนลงในใบนัด นัดหมายเพื่อทำกิจกรรมกลุ่ม 09.00-09.30 น. 4. ในกรณีที่คนไข้ที่ต้องเจาะ Lab ประจำปี หลังวัดV/S,ซักประวัติเขียนลงในใบนัด เจ้าหน้าที่ Key lab ส่งในระบบ แล้วส่งคนไข้ไปเจาะที่ห้อง Lab 5. การคัดกรองเพื่อจัดกลุ่มตามระดับความเสี่ยงรุนแรงคนไข้ที่เข้าเกณฑ์ จะได้รับการดูแลเบื้องต้น และส่ง ER ให้การดูแล รักษา หากไม่ admitted นัดเข้า คลินิกเบาหวานอีก 1 wk 6. พัฒนา CPGการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยอายุรแพทย์ร่วมกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 7. จัดแบ่งสีคนไข้ เป็น 3 กลุ่มเพื่อทำการจัดกิจกรรมรายกลุ่ม รายบุคคลและเข้าคิวตรวจรักษา ตามลำดับสีโดยสีเขียว DTX 70-130 mg%, BP <140/90 mmHg พบพยาบาลเวชปฏิบัติสีเหลือง DTX 131-200 mg%, BP 140/90 -159/99 mmHgพบพยาบาลเวชปฏิบัติสีแดง DTX ≥200mg%,BP≥160/100 mmHgพบ CM /เภสัช แล้วส่งพบแพทย์ตรวจรักษา 8. การรับใบนัดมาตรวจครั้งต่อไป 9. รับยาที่ห้องยา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง