ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ภัสธิรา อรุณปรีย์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาทางสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญที่ทำลายสุขภาพของประชาชน โดยโรคในช่องปากที่พบมากและเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับแรกในวัยเรียนคือ โรคฟันผุ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 การสำรวจสภาวะโรคฟันผุในกลุ่มอายุ 12 ปี ระดับประเทศ พบว่ามีฟันแท้ผุ ร้อยละ 52.3 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน (DMFT) เท่ากับ 1.3 ซี่ต่อคน ทั้งนี้ฟันที่ผุส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 29.1 (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2555 : 36) ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามีฟันแท้ผุ ร้อยละ 56.9 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน (DMFT) เท่ากับ 1.8 ซี่ต่อคน (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2555 : 36) ทั้งนี้กลุ่มอายุ 12 ปี ถือเป็นกลุ่มสำคัญทาง ระบาดวิทยา เนื่องจากเป็นอายุที่มีฟันแท้ขึ้นครบ 28 ซี่ในช่องปาก ซึ่งอัตราการเกิดโรคฟันผุในวัยนี้จะใช้เพื่อทำนายแนวโน้มการเกิดโรคฟันผุในวัยผู้ใหญ่ จากผลการสำรวจนักเรียนโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ในปีการศึกษา 2560 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีปัญหาสุขภาพช่องปากมากกว่าทุกระดับชั้น โดยมีปัญหาโรคฟันผุ ร้อยละ 64.54 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน (DMFT) เท่ากับ 2.1 ซี่ต่อคน ซึ่งมีค่าสูงกว่าทั้งระดับประเทศและระดับภาค จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยามีปัญหาโรคฟันผุ ซึ่งนักเรียนระดับชั้นนี้มีอายุประมาณ 12-13 ปี จะมีฟันแท้เป็น 28 ซี่ (ชาตรี หัยกิจโกศล. 2550 : ไม่มีเลขหน้า) ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญ และสนใจศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียน จำแนกตามความรู้ และเจตคติ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อนำปัญหาที่พบจากการศึกษาครั้งนี้ มาหาแนวทางในการพัฒนาให้ได้ตามวัตถุประสงค์และสามารถนำไปถ่ายทอดให้แก่ตำบลหรือพื้นที่อื่นๆต่อไป เพื่อลดปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยช่องปากของนักเรียน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 2.เพื่อศึกษาเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 3.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 4.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : เด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ทั้งหมดจำนวน 60 คน  
เครื่องมือ : -แบบสอบถาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา : 3.4.1 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ส่วนใหญ่เด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา มีความรู้อยู่ในระดับสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางนักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้องมากที่สุด คือ ข้อใดเป็นพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุด ร้อยละ 85.50 รองลงมา คือ ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 78.20 และพฤติกรรมในข้อใดที่ทำให้เกิดฟันผุได้ง่ายที่สุด ร้อยละ 77.30 ซึ่งสอดคล้องกับ จามิกร (2541) ได้ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับทันตสุขภาพในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา จำนวน 128 คน พบว่า นักเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนได้มีการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนสม่ำเสมอ และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำ ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง 3.4.2 เจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา นักเรียนมีเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.2 ข้อคำถามที่ตอบมากที่สุด คือ นักเรียนคิดว่าการรับประทานขนมหวานขบเคี้ยวทำให้เกิดฟันผุ ร้อยละ 58.2 รองลงมา คือ นักเรียนคิดว่าการดื่มน้ำอัดลมไม่มีผลเสียต่อฟันเลย ร้อยละ 50 และนักเรียนคิดว่าการแปรงฟันควรแปรงหลังรับประทานอาหาร ร้อยละ 48.2 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับ บังอร กล่ำสุวรรณ์ (2552 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนใน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่ก้าวสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 และ 12 พบว่า ทัศนคติของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นในการดูแลสุขภาพช่องปากโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 2.25, σ = 0.71) 3.4.3 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 นักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60 ระดับไม่ดี ร้อยละ 8 และไม่พบพฤติกรรมอยู่ในระดับดี ซึ่งสอดคล้องกับ สอดคล้องกับ ยุพดี (2549) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตรับผิดชอบ สถานีอนามัยตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พบว่า การปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.70 ระดับสูง ร้อยละ 36.60 และระดับต่ำ ร้อยละ 3.70 3.4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 นักเรียนมีความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ความรู้และเจตคติไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน โดยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน ( r = 0.042 , p-value = 0.662 ) และ เจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน( r = 0.042 , p-value = 0.662 ) ซึ่งสอดคล้องกับ ณัฐวุธ แก้วสุทธา และคณะ (2558 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลอนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น พบว่านักเรียนที่ไดรับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้นจะมีการทำความสะอาดช่องปาก การบริโภคอาหารเพื่ออนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปาก ดีกว่านักเรียนที่ไมไดรับโปรแกรม และไมพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจิตสังคมกับรูปแบบการฝึกอบรมที่มีต่อการทำความสะอาดช่องปาก การบริโภคอาหาร เพื่ออนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปาก  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)