ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาบริหารจัดการ ลดการ Re-sterile ของนึ่งเครื่องมือแพทย์ในหน่วยงานห้องผ่าตัด
ผู้แต่ง : ชฎา ภูยาดาว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, จนท.หน่วยจ่ายกลาง ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : หน่วยจ่ายกลางเป็นศูนย์กลางการรับ การล้าง การผึ่ง การห่อ การนึ่ง การเก็บ การจ่าย มีห่อของนึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ปราศจากเชื้อ ได้มาตรฐานพร้อมใช้ ให้แต่ละหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลคำม่วง ดังนั้นในแต่ละปีที่ผ่านมาได้วิเคราะห์จำนวนของนึ่งที่หมดอายุไม่ได้ใช้แล้วส่งกลับมาเพื่อทำให้ปราศจากเชื้อใหม่หมดทั้งขบวนการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายต่อขบวนการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องมือแพทย์ ดังนั้นเพื่อพัฒนาบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ที่ปราศจากเชื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่มีของนึ่งที่หมดอายุคงเหลือค้างในหน่วย จึงนำเอาปัญหามาวิเคราะห์เห็นว่าปัญหาของหน่วยงานห้องผ่าตัดเป็นหน่วยงานที่มีของนึ่งหมดอายุไม่ได้ใช้เป็นจำนวนมาก จึงกำหนดเป็นหน่วยงานที่ต้องพัฒนาบริหารจัดการเพื่อให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาระบบการบริการ เครื่องมือแพทย์ที่ปราศจากเชื้อของหน่วยจ่ายกลางและห้องผ่าตัด 2. เพื่อลดอัตราการ Re-sterile ของหน่วยงานห้องผ่าตัด  
กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานหน่วยจ่ายกลาง และหน่วยงานห้องผ่าตัด  
เครื่องมือ : 1.แบบสำรวจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวางแผนดำเนินงาน พิจารณาใช้วงจน PDCA ในการพัฒนา -ประชุมวางแผนร่วมกับหน่วยงานห้องผ่าตัด -เก็บรวบรวมข้อมูล - วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงหน่วยจ่ายกลางเรื่องของนึ่งหมดอายุ -วางแนวปฏิบัติร่วมกันกำหนดวิธีการ DO / ทดลองปฏิบัติ 1. กำหนดแนวทางปฏิบัติตามกระบวนการหลัก 2. เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ ซ้อมแผนการปฏิบัติ 3. สำรวจวัสดุ อุปกรณ์ และ ตรวจนับเครื่องมือทางการแพทย์ 4. ดำเนินการปฏิบัติระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี 5. แนวทางปฏิบัติ อันเดิม 1. ห้องผ่าตัดจะเก็บ Stoke ของนึ่งไว้ 2. เมื่อมี Case ผ่าตัดทำหัตการ จะทำการส่งล้างและนึ่ง 3. ตรวจเช็คของนึ่งทุกวันจะเขียนเบิกของนึ่งนำมาเก็บ Stokeไว้ให้ครบตามจำนวนเดิมเพื่อให้พร้อมใช้ 4. เมื่อไม่มีCaseผ่าตัดพบว่ามีของนึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้ใช้และหมดอายุในStokeเป็นจำนวนมาก อันใหม่ 1. ห้องผ่าตัดจะไม่เก็บ Stoke ของนึ่งเครื่องมือแพทย์ไว้ที่หน่วย 2. เมื่อมี Case ผ่าตัดทำหัตการ จะโทรศัพท์แจ้งหน่วยจ่ายกลางทราบพร้อมส่งใบเบิกของนึ่งเป็นหลักฐาน 3. ห้องผ่าตัดแจ้งเวลาทำหัตถการ ถ้าช่วงเช้าจ่ายกลางจะส่งทันที ถ้าบ่ายจะส่งก่อนลงพักเที่ยง 4. หน่วยจ่ายกลางจะเก็บ Stoke ของนึ่งไว้ และบริหารจัดการให้ก่อนของนึ่งหมดอายุ เช่น Set dressing จะใช้ร่วมกับหน่วยห้องฉุกเฉินที่มีการใช้ทุกวัน Set TRและAppendectomy จะStokeไว้ 2 Set ระยะเวลาการหมดอายุห่างกัน 30 วัน ก่อนหมดอายุ 2 ถึง 1 วัน ถ้าไม่มี Case จะนำไปห้องคลอดใช้ได้เพื่อไม่ให้ของนึ่งสูญเสียวันหมดอายุ จะปรับเครื่องมือแพทย์สามารถใช้ในกรณีCaseคลอดได้ด้วยรวมทั้งห่อนึ่งผ้าปราศจากเชื้อ  
     
ผลการศึกษา : สถิติการ Re-sterileของหน่วยงานต่างๆ หน่วยงาน ค่าเป้าหมาย ปี 2553 ปี2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 IPD ลดลงปีละ 10% 98 130 181 130 70 91 ER ลดลงปีละ 10% 0 287 185 134 100 30 OR ลดลงปีละ 10% 136 204 193 7 3 0 LR ลดลงปีละ 10% 96 189 69 107 60 39 PP ลดลงปีละ 10% 45 112 49 14 12 8 PCU ลดลงปีละ 10% 8 3 12 67 52 36 จ่ายกลาง ลดลงปีละ 10% 0 45 22 10 12 19 OPD ลดลงปีละ 10% NA NA 3 3 0 0 รพ.สามชัย. ลดลงปีละ 10% NA NA 41 13 30 49 รวม < 2% 383 ห่อ 974 ห่อ 863 524ห่อ 339ห่อ 276ห่อ 0.63% 1.35% 1.29% 0.57% ผลที่ได้จากการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการ 1. ลดจำนวนเครื่องมือแพทย์ที่หมดอายุได้ 2. ประหยัดไม่สิ้นเปลืองน้ำ น้ำยาล้างและพลังงานการซักผ้า 3. ไม่ต้องมีการตรวจเช็คของนึ่งทุกวันและลดภาระงานการล้างการห่อการนึ่งของหน่วยจ่ายกลาง 4. ได้มาตรฐานมีคุณภาพ  
ข้อเสนอแนะ : นำแนวทางการปฏิบัติตามกระบวนการหลักสู่ หน่วยงานอื่น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ