ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดำเนินงานอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคสาวต่อการเฝ้าระวังการใช้เครื่องสำอางที่ปลอดภัย กรณีศึกษา : โรงเรียนดอนไทรงามวิทยาคม ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : เบญจพล แสงไสว สุภาดา วิมาเณย์ สำรอง บุญเลิศ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ความสวยกับวัยสาวในยุคปัจจุบันมีการใช้ผลิตภัณฑ์หรือการเสริมความความงามอื่นๆ เข้ามาช่วยให้บุคลิกภาพ ความสวยงาม ตามที่ตนเองปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธี การผ่าตัด สปา สมุนไพร หรือเครื่องสำอาง เป็นต้น เครื่องสำอางที่มีแนวโน้มการใช้สูงจะเกี่ยวกับ ผิว สิว ฝ้า และกระ โดยพบว่า กลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก รองลงมาคือ กลุ่มวัยทำงาน(http://www.thansettakij.com/2016/01/09/24886) ซึ่งเครื่องสำอางที่ใช้ในปัจจุบันของกลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเป็นแป้ง รองลงมาคือครีม จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีการตรวจผลิตภัณฑ์ในปี 2556 จากตัวอย่าง 313 ชนิด พบเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ที่มี ไฮโดรควิโนน 55 ตัวอย่าง กรดวิตามินเอ 49 ตัวอย่าง ปรอทแอมโมเนีย 111 ตัวอย่าง ซึ่งหากคิดปริมาณผลิตภัณฑ์ที่มีสารปรอทแอมโมเนียที่เกินค่า ไม่ปลอดภัย เป็นจำนวนมาก ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลโพนงาม ยังไม่มีการดำเนินการ อันเนื่องจากเครื่องมือชุดตรวจ ได้แต่เฝ้าระวังทั่วไป ส่วนในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น มีการใช้เครื่องสำอางกันแพร่หลาย อีกทั้งช่องทางในการเลือกซื้อมีหลายช่องทาง มีโอกาสที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย มีสารต้องห้าม อีกทั้งยังไม่เคยมีการตรวจอย่างจริงจังในโรงเรียน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการใช้เครื่องสำอาง และช่องทางในการเลือกซื้อของกลุ่มนักเรียน ทางสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ต.โพนงาม จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนมัธยมศึกษาในการเฝ้าระวังการใช้เครื่องสำอางในกลุ่มนักเรียน 2. เพื่อตรวจหาสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง โดยใช้ Test-Kit อย่างง่าย 3. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคสาวในโรงเรียน  
กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนหญิง ชั้น ม.1-6 ชั้นละ 5 คน รวม 30 คน  
เครื่องมือ : ชุดทดสอบไฮโรควิโนน ชุดทดสอบกรดเรทิโนอิก(กรดวิตามินA) ชุดทดสอบปรอทแอมโมเนีย แบบสัมภาษณ์การใช้เครื่องสำอางในกลุ่มนักเรียน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประสานงานผู้บริหารโรงเรียนเพื่อทำความเข้าใจโครงการวิจัย 2. คัดเลือกนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมาย 3. จัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ 3.1 ผู้บริหารโรงเรียนดอนไทรงามวิทยาคม 3.2 ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน 3.3 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม(หรือผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ) 3.4 เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ 3.5 ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข 3.6 นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 3.7 ............................. 3.8 ................................. 4. จัดอบรมนักเรียนการใช้ชุด Test-Kit ในเครื่องสำอาง 3 ชนิด ความรู้ การใช้หน้าต่างเตือนภัย บทบาท (Intervention) 5. จัดทำแบบสำรวจการใช้เครื่องสำอาง 6. จัดทำสื่อเพื่อให้เกิดความตระหนัก 7. กลุ่มอาสาสมัครฯ ออกสำรวจ ตรวจเครื่องสำอาง หาdownline (เครือข่ายในอาสาสมัครฯ)ในชั้นเรียน 8. ติดตามการดำเนินงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 9. จัดเวที Focus group กลุ่มนักเรียนที่ใช้เครื่องสำอาง 10. จัดเวทีถอดบทเรียนในโรงเรียนโดยกลุ่มนักเรียนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคสาว 11. ติดตามการใช้เครื่องสำอางโดยใช้แบบสำรวจในโรงเรียน 12. ประชุมกลุ่มนักเรียนอาสาสมัครฯ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังที่ยั่งยืน 13. จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน( ความคาดหวัง/นวัตกรรม. Innovation ) 14. สรุป รายงานผล เผยแพร่  
     
ผลการศึกษา : การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาหาแนวทางในการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังการใช้เครื่องสำอางในกลุ่มวัยรุ่นในโรงเรียน โดยอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคสาว ที่ได้อาสาเข้ามาเป็นเครือข่ายในงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยเน้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่มีการใช้ในกลุ่มนักเรียน ของโรงเรียนดอนไทรงามพิทยาคม ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการเห็นชอบและสนับสนุนการดำเนินงานโดยผู้บริหารโรงเรียน ด้านงบประมาณได้รับสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม จำนวนเครือข่ายนักเรียนที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครฯ ที่ได้ครบ 30 คน การเฝ้าระวังที่สามารถดำเนินการได้โดยใช้ชุดตรวจมี 3 ชนิด คือ ไฮโดรควิโนน ปรอท และกรดวิตามินA ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นจะใช้หน้าต่างเตือนภัย การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เบื้องต้น โดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน จากคณะกรรมการอาหารและยา และมาตรฐานอุตสาหกรรม ผลการสำรวจโดยอาสาสมัครฯ ใช้แบบสัมภาษณ์การเลือกซื้อเครื่องสำอางที่ปรับปรุงจากการสืบค้นทางอิเล็คโทรนิค พบว่า นักเรียน 210 คน มีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 18.09 ร้านค้า/แผงลอย/ตลาดนัด จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 9.05 การขายตรง จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 5.24 เลือกซื้อหลายวิธี จำนวน 8คน คิดเป็นร้อยละ 3.81 ประเภทเครื่องสำอางที่ซื้อ ที่เลือกซื้อมากที่สุด ครีม แก้สิว จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 8.10 รองลงมาคือ ครีมหน้าขาว หรือ whitening จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 3.81 ผลการตรวจโดยชุดทดสอบ ผลิตภัณฑ์ที่นักเรียนใช้ ไม่พบผลิตภัณฑ์ที่มีสารควบคุมเกินปริมาณ แต่พบว่าการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ราคาไม่แพง ลองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจ บางรายมีอาการแพ้ผื่นแดง การดำเนินการขยายเครือข่ายในโรงเรียน จะมีการบอกแนะนำรุ่นน้อง และเพื่อน ในการเลือกซื้อ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยโดยใช้หน้าต่างเตือนภัย หรือ Application Single Window กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาสาสมัครฯ และกลุ่มนักเรียน เห็นด้วยกับการเฝ้าระวังโดยมีกองทุนหมุนเวียนเพื่อจัดหาชุดทดสอบ ซึ่งกองทุนสุขภาพ ตำบลโพนงาม จะสนับสนุนในปี 2561 นักเรียนมีความตระหนักถึงโทษ ผลกระทบ ที่ตามมาจากการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์  
ข้อเสนอแนะ : ทำการศึกษาต่อเนื่อง เนื่องจากมีการผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดเวลายากต่อการควบคุม การเฝ้าระวังการโฆษณาขายในช่องทางต่างๆ ยังยากต่อการควบคุมทั่วถึง เช่น สื่อวิทยุ อินเตอร์เน็ต เครื่องมือในการตรวจสอบส่วนผสมยังมีน้อยชนิด ซึ่งยังมีสารส่วนผสมอีกหลายชนิดที่เป็นอันตรายแต่ไม่สามารถทดสอบเบื้องต้นได้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)