ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการใช้โปรแกรมกระตุ้นน้ำนม ต่อการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด ปี 2560
ผู้แต่ง : ทัศวรรณ เสียงล้ำ ,นุสรา ผันผ่อน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : นมแม่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างเสริมสุขภาพของทารก และเป็นที่ยอมรับว่านมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ซึ่งมีประโยชน์ทั้งต่อทารก มารดา ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ(Perry SE;2010.) ตามที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด และในปี 2547 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศเป็นนโยบายแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือนและตั้งเป้าหมายไว้ว่า เมื่อสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2549 ) ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียว นาน 6 เดือนอย่างน้อย ร้อยละ 30 (Kanchanachitra C et al ;2005:12) ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะสำเร็จได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ความรู้สึกว่าลูกได้รับอาหารเพียงพอ การที่แม่รู้สึกว่าตนเองมีน้ำนมไม่พอสำหรับบุตร(Amir L.2006;35(9):686-9) ในขณะที่อยู่โรงพยาบาล ทั้งๆ ที่เป็นช่วงแรกของการสร้างน้ำนม ทำให้แม่ไม่ยอมให้บุตรดูดนมจากเต้า ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าว ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาหลังคลอดเมื่อกลับบ้าน และเป็นสาเหตุที่เลิกเลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง ในช่วงเวลา 1-4 สัปดาห์หลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยการช่วยเหลือ ประคับประครอง กระตุ้นให้เกิดกำลังใจ ความพึงพอใจ ซึ่งจะทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดี ดังนั้นการช่วยเหลือจากพยาบาล รวมทั้งการให้คำแนะนำ การแก้ปัญหา และการสร้างความมั่นใจ จึงมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จ นั่นคือในระยะแรกของการช่วยเหลือ คือการสร้างแรงจูงใจ (Dog TL;2005:118-43) ปัญหาในระยะ 1-2 วันแรกหลังคลอด ที่มักพบ คือ มารดาหลังคลอด ไม่มีน้ำนม (วรรณา;2554: 193-218) และกังวลว่าบุตรได้รับนมไม่เพียงพอ (Lee WTK ;2007;16:163-71) มารดาหลังคลอด มีความวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อทารกร้องหิวนม แล้วน้ำนมมารดายังไม่ไหล ส่งผลให้เกิดความเครียดและเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้การสร้างและหลั่งน้ำนมผิดปกติ เมื่อมารดามีจิตใจสงบ ไม่เครียด ฮอร์โมนออกซิโทซินหลั่งส่งผลต่อการไหลของน้ำนม (Perry SE:2010) เมื่อน้ำนมมาช้าทำให้เกิดปัจจัยร่วมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่สำเร็จ ทำให้มารดาหลังคลอด มีความวิตกกังวลและมีความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งจากความเครียดดังกล่าว ยิ่งทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ำนม(พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช) ดังนั้นปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ น้ำนมไม่ไหล จึงเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอันดับแรก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของแกตตี (Gatti L.2008:355-363) ที่พบว่ามารดาหลังคลอดร้อยละ 35 หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ด้วยสาเหตุที่แม่รู้สึกว่ามีน้ำนมน้อยไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงลูก ซึ่งปัญหาดังกล่าวหากได้รับการแก้ไขและได้รับการแก้ไขอาจจะทำให้ผลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป และจากการศึกษา ปัจจัยอื่นที่ช่วยส่งเสริมการไหลของน้ำนมมารดาหลงคลอด คือการนวดเต้านม และการใช้น้ำขิง(ชุติมาพรและคณะ:2010) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งได้ปฏิบัติตามนโยบายโครงการสายสัมพันธ์แม่-ลูกใช้บันได 10 ขั้น สู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีเป้าหมายให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน ให้ได้ร้อยละ 30 ซึ่งจากการเก็บข้อมูลของฝ่ายส่งเสริมสุขภาพชุมชนการติดตามเยี่ยมหลังคลอด ในระยะเวลา 6 เดือนย้อนหลัง พบว่า มารดาหลังคลอดมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ภายใน 7 วัน หลังคลอด ร้อยละ 51.88 ภายใน 14 วัน ร้อยละ 49.18 ภายใน 45 วัน ร้อยละ 39.64 มีแนวโน้มลดลง และมารดาหลังคลอด 24 ชมแรกหลังคลอด มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำนมมาน้อยหรือไม่มา คิดเป็น ร้อยละ 45.65 มารดาน้ำนมไม่ไหลเลยหลังคลอดใน 2 ชั่วโมงแรก เดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคมคิดเป็นร้อยละ 35.85, 29.3 และ14.89 ตามลำดับ การกระตุ้นการไหลของน้ำนมมารดาหลังคลอดทุกรายจะได้รับการกระตุ้นการดูดนมโดยใช้หลัก 3 ด คือ ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี แต่ยังพบว่า มารดาหลังคลอดน้ำนมยังมาน้อย ซึ่งการใช้น้ำขิง ทางตึกหลังคลอด ได้มีการทำ CQI น้ำขิงช่วยกระตุ้นน้ำนม แต่พบว่าน้ำขิงยังไม่ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้น จึงมีการพัฒนาสูตรของน้ำขิงให้เป็นสูตรเดียวกันในมารดาหลังคลอดทุกราย ดังนั้นคณะผู้วิจัยต้องการแก้ไขปัญหาน้ำนมไม่ไหลซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมงแรก โดยศึกษาผลของการใช้โปรแกรมกระตุ้นน้ำนม ที่ถูกสร้างขึ้นต่อการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด  
วัตถุประสงค์ : -เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด  
กลุ่มเป้าหมาย : มารดาหลังคลอด จำนวน 21 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติ ดังนี้ - มารดาหลังคลอดปกติ ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน (PPH ,PIH, MR, HIV,TR) - มารดาหลังคลอดที่ น้ำนมไม่ไหล (คะแนน การไหลของน้ำนม เท่ากับ 0) - มารดาหลังคลอดปกติ GA 37 wks ขึ้นไป - มารดาหลังคลอดปกติที่มี หัวนมปกติ (0.5-1 cm) - มารดาหลังคลอดปกติ ที่ไม่ได้รับการเร่งคลอด โดยใช้ Oxytocin หรือ ได้รับการเร่งคลอดโดยใช้ Oxytocin ไม่เกิน 6 ชั่วโมง - มารดาหลังคลอดปกติ ที่ไม่ได้รับ ยากระตุ้นน้ำนม ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด - ทารกแรกเกิดคลอดปกติ ไม่มีภาวะผิดปกติ (Dyspnea , Tonge tie ,NPO , Preterm ,LBW) - ทารกแรกเกิดได้รับการกระตุ้นดูดนมมารดา หลังคลอด ภายใน 30 นาที  
เครื่องมือ : โปรแกรม ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี (3ด) 3ด + น้ำขิง 3ด+นวดเต้านม 3ด+น้ำขิง+นวดเต้านม เวลา คะแนน คะแนนการไหลของน้ำนม หมายเหตุ 0 1 2 3 4 2 ชม. แรก 2-4 ชม. 4-6 ชม. 6-8 ชม. 8-10 ชม. 10-12 ชม. 12-14 ชม. 14-16 ชม. 16-18 ชม. 18-20 ชม. 20-22 ชม. 22-24 ชม. 2. น้ำขิง ที่ผู้วิจัย ปรุงขึ้น ตามสูตร ของการแพทย์แผนไทย เครื่องมือการเก็บข้อมูล 1. แบบประเมินการไหลของน้ำนม แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ จำนวนการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ อายุ อาชีพ และการศึกษา ส่วนที่ 2 แบบประเมินการไหล ของน้ำนม แบ่งเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ 0 - 4 คะแนน ดังนี้ 0 คะแนน น้ำนมไม่ไหล คือเมื่อบีบน้ำนมแล้ว ไม่มีน้ำนมไหลออกมา 1 คะแนน น้ำนมไหลน้อย คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้วมีน้ำนมไหลซึมออกมาแต่ไม่เป็นหยด 2 คะแนนน้ำนมเริ่มไหล คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำนมไหลออกมาเป็นน้ำใสๆ หรือไหลออกมา 1-2 หยด 3 คะแนน น้ำนมไหลแล้ว คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำใสๆ หรือน้ำสีเหลืองไหลออกมา มากกว่า 2 หยดขึ้นไป แต่น้ำนมไม่พุ่ง แต่ไม่เกิน 5 หยด 4 คะแนน น้ำนมไหลดี คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำนมไหลพุ่ง หรือไหลมากว่า 5 หยด คณะผู้จัดทำและเจ้าหน้าที่ตึกหลังคลอดมีการประชุม( KM) แบบบันทึกเพื่อให้มีความเหมาะสมในการเก็บข้อมูลให้ครบ 24 ชั่วโมงแรก โดยนำมาตรวจสอบความเที่ยงตรงข้อมูล พบว่า 2. แบบประเมิน LATCH Score แบ่งเป็น 5 ข้อ ข้อละ 0-2 คะแนน ดังนี้ L Latch A Audible T Type C Comfort H Hold เวลา คะแนน Latch Audible Type Comfort Hold รวม หมายเหตุ แรกรับ 00.00-08.00 น. 08.00-16.00 น. 16.00-24.00 น. โปรแกรม ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี (3ด) 3ด + น้ำขิง 3ด+นวดเต้านม 3ด+น้ำขิง+นวดเต้านม เวลา คะแนน คะแนนการไหลของน้ำนม หมายเหตุ 0 1 2 3 4 2 ชม. แรก 2-4 ชม. 4-6 ชม. 6-8 ชม. 8-10 ชม. 10-12 ชม. 12-14 ชม. 14-16 ชม. 16-18 ชม. 18-20 ชม. 20-22 ชม. 22-24 ชม. 2. น้ำขิง ที่ผู้วิจัย ปรุงขึ้น ตามสูตร ของการแพทย์แผนไทย เครื่องมือการเก็บข้อมูล 1. แบบประเมินการไหลของน้ำนม แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ จำนวนการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ อายุ อาชีพ และการศึกษา ส่วนที่ 2 แบบประเมินการไหล ของน้ำนม แบ่งเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ 0 - 4 คะแนน ดังนี้ 0 คะแนน น้ำนมไม่ไหล คือเมื่อบีบน้ำนมแล้ว ไม่มีน้ำนมไหลออกมา 1 คะแนน น้ำนมไหลน้อย คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้วมีน้ำนมไหลซึมออกมาแต่ไม่เป็นหยด 2 คะแนนน้ำนมเริ่มไหล คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำนมไหลออกมาเป็นน้ำใสๆ หรือไหลออกมา 1-2 หยด 3 คะแนน น้ำนมไหลแล้ว คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำใสๆ หรือน้ำสีเหลืองไหลออกมา มากกว่า 2 หยดขึ้นไป แต่น้ำนมไม่พุ่ง แต่ไม่เกิน 5 หยด 4 คะแนน น้ำนมไหลดี คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำนมไหลพุ่ง หรือไหลมากว่า 5 หยด คณะผู้จัดทำและเจ้าหน้าที่ตึกหลังคลอดมีการประชุม( KM) แบบบันทึกเพื่อให้มีความเหมาะสมในการเก็บข้อมูลให้ครบ 24 ชั่วโมงแรก โดยนำมาตรวจสอบความเที่ยงตรงข้อมูล พบว่า 2. แบบประเมิน LATCH Score แบ่งเป็น 5 ข้อ ข้อละ 0-2 คะแนน ดังนี้ L Latch A Audible T Type C Comfort H Hold เวลา คะแนน Latch Audible Type Comfort Hold รวม หมายเหตุ แรกรับ 00.00-08.00 น. 08.00-16.00 น. 16.00-24.00 น. โปรแกรม ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี (3ด) 3ด + น้ำขิง 3ด+นวดเต้านม 3ด+น้ำขิง+นวดเต้านม เวลา คะแนน คะแนนการไหลของน้ำนม หมายเหตุ 0 1 2 3 4 2 ชม. แรก 2-4 ชม. 4-6 ชม. 6-8 ชม. 8-10 ชม. 10-12 ชม. 12-14 ชม. 14-16 ชม. 16-18 ชม. 18-20 ชม. 20-22 ชม. 22-24 ชม. 2. น้ำขิง ที่ผู้วิจัย ปรุงขึ้น ตามสูตร ของการแพทย์แผนไทย เครื่องมือการเก็บข้อมูล 1. แบบประเมินการไหลของน้ำนม แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ จำนวนการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ อายุ อาชีพ และการศึกษา ส่วนที่ 2 แบบประเมินการไหล ของน้ำนม แบ่งเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ 0 - 4 คะแนน ดังนี้ 0 คะแนน น้ำนมไม่ไหล คือเมื่อบีบน้ำนมแล้ว ไม่มีน้ำนมไหลออกมา 1 คะแนน น้ำนมไหลน้อย คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้วมีน้ำนมไหลซึมออกมาแต่ไม่เป็นหยด 2 คะแนนน้ำนมเริ่มไหล คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำนมไหลออกมาเป็นน้ำใสๆ หรือไหลออกมา 1-2 หยด 3 คะแนน น้ำนมไหลแล้ว คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำใสๆ หรือน้ำสีเหลืองไหลออกมา มากกว่า 2 หยดขึ้นไป แต่น้ำนมไม่พุ่ง แต่ไม่เกิน 5 หยด 4 คะแนน น้ำนมไหลดี คือ เมื่อบีบน้ำนมแล้ว มีน้ำนมไหลพุ่ง หรือไหลมากว่า 5 หยด คณะผู้จัดทำและเจ้าหน้าที่ตึกหลังคลอดมีการประชุม( KM) แบบบันทึกเพื่อให้มีความเหมาะสมในการเก็บข้อมูลให้ครบ 24 ชั่วโมงแรก โดยนำมาตรวจสอบความเที่ยงตรงข้อมูล พบว่า 2. แบบประเมิน LATCH Score แบ่งเป็น 5 ข้อ ข้อละ 0-2 คะแนน ดังนี้ L Latch A Audible T Type C Comfort H Hold เวลา คะแนน Latch Audible Type Comfort Hold รวม หมายเหตุ แรกรับ 00.00-08.00 น. 08.00-16.00 น. 16.00-24.00 น.  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนวิธีดำเนินการ เดือน ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค 1. ประชุมปรึกษา หาปัญหา ในการทำ R2R ปี 60 2. ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจเจ้าหน้าที่พยาบาล - วิธีการดำเนินงาน - การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์คัดเข้า - การประเมินการไหลของน้ำนม - วิธีการบีบน้ำนม - การนวดเต้านม (การเตรียมอุปกรณ์ +ท่านวด) - การเตรียมน้ำขิง - การประเมิน LATCH Score 3. จัดทำเครื่องมือ /แก้ไข ปรับปรุง ตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 4. เก็บรวมรวมข้อมูล สุ่มกลุ่มตัวอย่าง ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 5. ประชุมปรีกษา เกี่ยวกับการดำเนินงาน ปรับปรุง แก้ไข 6. เก็บรวบรวมข้อมูล 7. วิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผล 8. KM ผลการวิเคราะห์แล อภิปรายผล พร้อม แก้ไข ปรับปรุง 9. นำเสนอผลงาน 1. คณะผู้ทำ R2R ได้ประชุมหาประเด็นปัญหาของมารดาหลังคลอดที่พยาบาลภายในตึก ซึ่งมีความคิดเห็นตรงกันคือ มารดามีน้ำนมมาน้อยและมีความกังวลมากจนทำให้เกิดความเครียดต้องการนมผสมมากขึ้นเมื่อทารกร้องไห้ถึงแม้จะใช้หลัก 3 ด เป็นพื้นฐานของการให้นมบุตร 2. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง และออกแบบจัดทำเครื่องมือใบบันทึกในการเก็บข้อมูลโดยปรึกษา facilator และมีการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือแบบประเมินการไหลของน้ำนมก่อนนำมาปฎิบัติจริง 3. เมื่อได้กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ พยาบาลแนะนำโปรแกรมกระตุ้นน้ำนม ทั้ง 4 แบบให้มารดาเลือก เมื่อมารดาเลือกแล้วจะทำความเข้าใจกับมารดาว่าทารกแรกเกิดมีกระเพาะอาหารเล็กมากเท่าลูกแก้วให้มารดามีความตั้งใจร่วมมือกันโดยจะไม่มีการให้นมผสม ในช่วงการเก็บข้อมูลนี้จะมีการกระตุ้นบุตรดูดนม ทุก 2 ชั่วโมง จนกว่าจะครบเวลาคลอด 24 ชั่วโมง หากมารดาเลือกน้ำขิงจะมีน้ำขิงให้ดื่มตามหลักดังนี้ รายละเอียดโปรแกรม โปรแกรมที่ 1 โประแกรม 3 ด ดูดเร็ว ดูดภายใน 30 นาทีแรก (สอบถามจากห้องคลอด) ดูดบ่อย ดูดทุก 2-3 ชั่วโมง/ครั้ง หรือ 9-10 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ดูดถูกวิธี ประเมินจาก LATCH SCORE โดยใช้ 5 ข้อ คือ latch (การดูด) Hold (การอุ้ม,ท่า) Audible (การกลืน) Comfort (ความสุขสบายในการให้นมของมารดา เกี่ยวกับเต้านม) โปรแกรมที่ 2 โปรแกรม 3 ด ร่วมกับการดื่มน้ำขิง โดยใช้หลัก 3 ด เหมือนโปรแกรมที่ 1 ร่วมกับให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำขิงที่เตรียมไว้ก่อนให้นมบุตรทุกครั้ง (ดื่มก่อนให้นม อย่างน้อย 15-30 นาที) ครั้งละ 1 แก้ว ประมาณ 200 cc ทุก 3 ชั่วโมง (รวม 600 cc/ เวร หรือประมาณ 1800 ccใน 24 ชั่วโมง) โปรแกรมที่ 3 โปรแกรม 3 ด ร่วมกับการนวดเต้านม โดยใช้หลัก 3 ด (โปรแกรมที่ 1) ร่วมกับการนวดเต้านมทุกครั้งก่อนการให้นมบุตร โดยใช้ขวดแก้ว ที่บรรจุน้ำร้อน นวดคลึง บริเวณเหนือลานนม หมุนคลึงไปรอบๆเต้านมโดยระวังไม่ให้สัมผัสหัวนม นานข้างละ 15 นาที (นวดก่อนอย่างน้อย 15-30 นาที) เจ้าหน้าที่สอน สาธิต 1 ครั้งและให้มารดาหลังคลอดปฏิบัติเองโดยเจ้าหน้าที่สังเกตและประเมินผลการปฏิบัติว่าทำได้ถูกต้องหรือไม่ เมื่อสามารถทำถูกต้อง จึงให้มารดาหลังคลอดปฏิบัติได้เองในครั้งต่อไป โปรแกรมที่ 4 โปรแกรม 3 ด ร่วมกับการดื่มน้ำขิงร่วมกับการนวดเต้านม โดยให้มารดาหลังคลอด ดื่มน้ำขิงก่อน หลังจากนั้นนวดเต้านมต่อทันที เมื่อมารดาหลังคลอดรับทราบ เลือกโปรแกรมแล้ว ก็เริ่มกระบวนการทันทีและพยาบาลต้องสอนการบีบน้ำนมที่ถูกต้องให้มารดาหลังคลอดทราบทุกครั้ง ก่อนเริ่มกระบวนการและให้มารดาหลังคลอดบอกทันทีเมื่อน้ำนมเริ่มมา (บันทึกตั้งแต่ 1 คะแนนขึ้นไป) เพื่อการบันทึกได้ถูกต้องและแม่นยำที่สุด การลงคะแนน การไหลของน้ำนม 2 ชั่วโมงแรกคือการประเมินมารดาหลังรับย้ายจะเป็น 0 คะแนน คือกลุ่มเป้าหมาย ให้กาเครื่องหมายถูกในช่อง 2 ชั่วโมงและลงเวลาที่รับย้ายไว้เพื่อทำให้ทราบเวลาในการกระตุ้นดูดนมและประเมินการไหลของน้ำนมในครั้งต่อไป มีคะแนนตั้งแต่ 0 – 4 คะแนนทุก 2 ชั่วโมงจนกว่าจะครบ 24 ชั่วโมง ลงคะแนน LATCH Score แต่ละเวรให้ครบทุกเวร ใน 24 ชั่วโมงแรก  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง