|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : เตาเผาขยะเปลือกหอยเชอรี่ |
ผู้แต่ง : |
นันทิดา ปัญญา |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เนื่องจากปัจจุบันชุมชนบ้านหัวหนองประกอบอาชีพเสริมจากการทำนาคือการหาหอยเชอรี่ตามท้องนามาขาย ทำให้มีขยะเปลือกหอยเชอรี่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านหัวหนองอย่างมากจากชาวบ้านนำเปลือกหอยไปทิ้งรวมกันไว้ที่ท้ายหมู่บ้าน ก่อให้เกิดปัญหาขยะเปลือกหอยล้นส่งผลกระทบต่อชุมชนก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมากและยังมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนบ้านหัวหนอง เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุงฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่นๆ อีกทั้งยังทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
ดังนั้น ชาวชุมชนบ้านหัวหนองจึงเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนจากขยะเปลือกหอยเชอรี่ จึงได้คิดหาวิธีที่จะกำจัดเปลือกหอยเชอรี่ในชุมชนขึ้นและนำขี้เถ้าไปใช้ประโยชน์ต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
๑.เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดเปลือกหอยเชอรี่ให้ถูกวิธี
๒.เพื่อนำขี้เถ้าเปลือกหอยเชอรี่มาผสมดินเพื่อปลูกผักปลอดสารพิษ
๓.เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่มากับขยะเปลือกหอยเชอรี่
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
คณะกรรมการหมู่บ้าน และกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านหัวหนอง หมู่ที่ ๑๑ ต.หลักเมือง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
แบบเก็บข้อมูล /แบบสังเกต
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.ประชุมจัดทำกติกาในชุมชนในการกำจัดเปลือกหอยเชอรี่
๒.สร้างเตาเผาขยะหอยเชอรี่
๓.นำเปลือกหอยเชอรี่มากำจัดในเตาเผาขยะที่จัดทำไว้
๔.นำขี้เถ้าเปลือกหอยเชอรี่ที่เผาแล้วมาใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพรองพื้นปลูกผักปลอดสารพิษ
๕.ประเมินผลแปลงผักที่ใช้ขี้เถ้าเปลือกหอยเชอรี่และแปลงผักที่ไม่ใช้ขี้เถ้าเปลือกหอยเชอรี่ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
๑.มีเตาเผาขยะเปลือกหอยเชอรี่ที่ได้มาตรฐาน สามารถลดขยะจากหอยเชอรี่ในเฉลี่ย ๕๐ กก./วัน
๒.ขยะจากหอยเชอรี่ในเฉลี่ย ๕๐ กก. ได้เถ้าเปลือกหอยเชอรี่ ๕ ลิตร และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร ลดการเกิดเชื้อราในการปลูกพริก ลดการเกิดโรคใบด่างใบหงิกในมะละกอ เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตพืช ดังผลการทดลอง |
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|