|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยสำเร็จในการหายป่วยหรือไม่เป็นซ้ำในโรคพยาธิใบไม้ตับในอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
อรรถวิทย์ เนินชัด, ทักษนัย พัสดุ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ด้วยอำเภอนามนมีการป่วยด้วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ในปี 2557-2559 พบอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี 514 ต่อแสนประชากร 596 ต่อแสนประชากร และ 601 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานปลาดิบ การดื่มสุรา ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เป็นโรคดังกล่าว จากสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ศึกษาได้สนใจในปัจจัยสำเร็จมากกว่าปัจจัยเสี่ยง เพราะเห็นว่ามีผู้ศึกษาในเรื่องปัจจัยเสี่ยงเป็นจำนวนมากแล้ว และปัจจัยสำเร็จสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่าย ในชีวิตประจำวันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาปัจจัยสำเร็จในการหายหรือไม่เป็นซ้ำของโรคพยาธิใบไม้ตับ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ศึกษาในผู้ป้วยปี 2558 ที่หายและไม่เป็นซ้ำ จำนวน 84 คน เทียบกับกลุ่มที่เป็นซ้ำหรือไม่หายจำนวน 84 คน ติดตามปี 2558 จนถึงปี 2560 (คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรประมาณค่าสัดส่วน โดยให้ effect การรักษาด้วยยา Praziquantel มีประสิทธิภาพ 97% ในอัตรากลุ่มเปรียบเทียบ 1:1) |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกข้อมูล |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
เป็นการศึกษาด้วยวิธีผสมผสาน Mix method ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การศึกษาเชิงปริมาณศึกษาในผู้ป้วยปี 2558 ที่หายและไม่เป็นซ้ำ จำนวน 84 คน เทียบกับกลุ่มที่เป็นซ้ำหรือไม่หายจำนวน 84 คน ติดตามปี 2558 จนถึงปี 2560 (คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรประมาณค่าสัดส่วน โดยให้ effect การรักษาด้วยยา Praziquantel มีประสิทธิภาพ 97% ในอัตรากลุ่มเปรียบเทียบ 1:1) การศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาด้วยกระบวนการ Focus group (กลุ่มหายป่วยหรือไม่เป็นซ้ำ,กลุ่มไม่หายหรือเป็นซ้ำ,กลุ่มผู้ประกอบการอาหารปลาร้า, กลุ่มหาปลาและจำหน่ายปลาในชุมชน) กระบวนการถอดบทเรียนความสำเร็จ
1.ทราบปัจจัยสำเร็จในการหายหรือไม่เป็นซ้ำของโรคพยาธิใบไม้ตับซึ่งเป็นข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และปริมาณสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาต่อไป
2.ประชาชนหรือผู้สนใจสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการตัดสินใจหรือหาแนวทางในการรักษาตนเอง ญาติ บุคคลรู้จักให้หายหรือไม่เป็นซ้ำได้
3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับสามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับได้
4.ปัจจัยสำเร็จที่ได้จากการศึกษาสามารถไปต่อยอดเป็นนวตกรรมในการแก้ไขปัญหาได้
5.ผู้บริหารสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดเป็นนโยบาย หรือมาตรการในการทำให้ชุมชนปราศจากโรคพยาธิใบไม้ตับได้ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|