ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การจำหน่ายยาในร้านชำ อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อนุชา คำไสว,กัญจน์รัตน์ มาตยวงศ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational useof medicine) หมายถึง การที่ผู้ป่วยได้รับยาเหมาะสมกับความจำ เป็นทางคลินิก ในขนาดยาตามข้อกำหนด ระยะเวลาเพียงพอ และต้นทุนน้อยที่สุดสำหรับผู้ป่วยและชุมชน (WHO, 1987) อย่างไรก็ตามมุมมองของผู้บริโภคเรื่องความสมเหตุผลในการใช้ยาอาจแตกต่างจากนิยามดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตีความคุณค่าในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการรับรู้ทางวัฒนธรรมและภาวะเศรษฐกิจ การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้องเกิดขึ้นบ่อย ผู้ป่วยไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้ยาจนครบระยะเวลา ไม่เข้าใจเหตุผลที่เจ้าหน้าที่ในระบบบริการสุขภาพอธิบายให้ฟัง การซื้อยากินเองเป็นรูปแบบในการรักษาอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในหมู่บ้าน การสำรวจสวัสดิการและอนามัยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าอัตราการซื้อยากินเองเท่ากับ 38.3%, 37.9% ในปี พ.ศ. 2534 และ 2539 แล้วลดลงเป็น 24.2%, 21.5%, 20.9%, 25.1%ในปี พ.ศ. 2544, 2546, 2547, 2549 ตามลำดับ (สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, 2550) และการสำรวจการกระจายยาในหมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลจากทุกภูมิภาคย่อย จำนวน 8 จังหวัด จังหวัดละ 24-26 แห่ง รวม 195 แห่ง พบร้านชำ775 แห่ง กองทุนยาหมู่บ้าน 96 แห่ง พบยาอันตรายในทุกหมู่บ้าน (100%) ส่วนใหญ่เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ร้านชำในชุมชนส่วนใหญ่จำหน่ายยาอันตรายทำให้ประชาชนเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดขึ้นจากยา การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ทำให้การรักษาไม่ได้ผลเสี่ยงต่ออันตรายจากความรุนแรงของโรค การดื้อยาก็เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ (ลือชัย ศรีเงินยวง, 2543) นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ร้านชำจำหน่ายยาได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,2553) ซึ่งเป็นยาจำเป็นและปลอดภัยสำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไป ดังนั้น การจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำนอกจากทำ ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังผิดกฎหมายอีกด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญสำ หรับความสำเร็จของการทำโครงการพัฒนา/แก้ไขปัญหาในชุมชนผู้วิจัยจึงพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างชุมชน  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ทราบสถานการณ์การจำหน่ายยาอันตราย/ยาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำ  
กลุ่มเป้าหมาย : ร้านชำในเขตพื้นที่อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : 1. แบบสำรวจการจำหน่ายยาในร้านชำ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ในการตรวจยาในร้านชำ 2. ออกตรวจประเมินร้านชำในชุมชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. วิเคราะห์และสรุปผล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง