ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การเสริมสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนศรีสวัสดิ์ ต.ยอดแกง อ.นามน จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สัจจา ภาวิขำ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศ ทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม้สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลอตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องในชุมชน 3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป/ผู้ดูแล จำนวน 8 หมู่บ้าน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนศรีสวัสดิ์ ต.ยอดแกง อ.นามน จ.กาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : 1. แบบบันทึกสุขภาพผู้สูงวัย 2. แบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ และจำแนกประเภท 2. ให้ความรูั้แก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแล พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสพการณ์ 3. เยี่ยมยามถามไถ่ ดูแลสารทุกข์สุขดิบแก่ผู้สุงอายุที่มีปัญหา โดยชมรมผู้สูงวัย 4. กิจกรรมสัทนาการ ขับเคลื่อนชมรมผูัสูงวัย 5. ส่เสริมการมีนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ