|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : รายงานการสอบสวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน กรณีรถจักรยานยนต์ชนกับรถกระบะ บนถนนบ้านหนองน้อย – บ้านค้อ ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ วันพุธที่ 22 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 |
ผู้แต่ง : |
พรพัฒน์ ภูนากลม,สุดาทิพย์ ศรีจันทร์เติม,ยุทธพงษ์- ภามาศ,ปุณณดา ภูพันนา,กุลยา ใจกล้า,วานิช รุ่งราม |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เมื่อวันพุธที่ 22 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 14.05 น. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอนามน ได้รับแจ้งจากแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER) โรงพยาบาลนามน ว่าเวลาประมาณ 11.05 น. เกิดเหตุรถจักรยานยนต์ชนกับรถกระบะบรรทุกน้ำแข็ง ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 13 – 14 บนทางหลวงชนบท หมายเลข กส.3007 (บ้านหนองน้อย – บ้านค้อ) ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย จึงได้ดำเนินการสอบสวนการเสียชีวิต ในวันที่ 22 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 14.25 น. ร่วมกับสำนักงานตำรวจภูธรนามน |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของการเสียชีวิต สาเหตุ และปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุ
2. เพื่อเสนอแนวทางการควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในอนาคต |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
1. แบบบันทึก
2. แบบสอบสวน |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาข้อมูลย้อนหลังการเกิดอุบัติเหตุ โดยการรวบรวมข้อมูลการเสียชีวิต จากบันทึกการรักษาของโรงพยาบาลนามน รายงานการชันสูตร สัมภาษณ์แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี ญาติของผู้เสียชีวิต ศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อม ณ จุดเกิดเหตุ ร่วมกับการใช้แบบสอบสวนการบาดเจ็บของสำนักระบาดวิทยา 1 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
อุบัติเหตุรถกระบะบรรทุกน้ำแข็งชนกับรถจักรยานยนต์ครั้งนี้ ถือว่ามีความรุนแรง เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ราย ด้านสิ่งแวดล้อมและบริเวณทางกายภาพ พบว่าสอดคล้องกับการรายงานการสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน กรณีศึกษารถประจำทางและรถบัสเช่าเหมาลำระหว่างเดือนมกราคม 2549 – มกราคม 2551 จำนวน 29 กรณี ผลการสอบสวนพบว่าที่ผ่านมาว่า ถนนที่มีเพียง 2 ช่องจราจรจะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุถึง 0.32 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตถึง 0.16 เท่า เมื่อเทียบกับจำนวนช่องการจราจรที่มากกว่า และบริเวณที่เป็นเส้นทางตรง (Straight) บริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางโค้งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุถึง 0.63 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตถึง 0.09 เท่า เมื่อเทียบกับบริเวณทางกายภาพแบบอื่น ๆซึ่งการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้มีลักษณะของเส้นทางคล้ายกับรายงานดังกล่าว
ตามสภาพการณ์ของการบาดเจ็บและเสียชีวิตกล่าวได้ว่า เกิดจากการขับรถบนถนนที่เป็นทางโค้ง ที่เป็นถนนเพียงสองเลน และสิ่งที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์นี้ คือ เมื่อรถกระบะบรรทุกน้ำแข็งพยายามขับและควบคุมรถบนถนนที่เป็นทางโค้ง แต่มีรถกำลังสวนมาและข้ามเลนมา ทำให้ไม่สามารถบังคับรถให้อยู่เลนได้ รถกระบะจึงหักหลบลงข้างทางซึ่งเป็นทุ่งนา และหมุนพวงมาลัยให้รถกลับขึ้นมาบนถนนอีกครั้งเนื่องจากรถจะพลิกคว่ำลงทุ่งนา ทำให้รถกระบะชนกับรถจักรยานยนต์ จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้กำหนดมาตรการและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ควรมีป้ายเตือนขนาดใหญ่ บริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงและได้มาตรฐาน สีสะท้อนแสง
2. รถจักรยานยนต์ควรมีการตรวจสภาพและการต่อ ทะเบียนและ พรบ. รถให้ถูกต้อง
3. พนักงานขับรถบรรทุกน้ำแข็งควรมีการประเมินความพร้อมของร่างกาย เนื่องจากใช้เวลาในการขนส่งน้ำแข็งทั้งวันซึ่งอาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้า และภาวะในการตัดสินใจลดลงได้ |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|