|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยหลัก 3 อ. |
ผู้แต่ง : |
วิลัยพร ดาด้วง ,ทศพล ศรีชัยชิต |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปี 2557 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 14.9 ซึ่งตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ หมายความว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) แล้ว และมีการคาดการณ์ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) คือมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า ร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งทั้งนี้เป็นผลมาจากการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมประชาชนมีการศึกษารู้จักการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการสาธารณสุข การรักษา การความคุมป้องกนโรค การบำรุงร่างกายให้แข็งแรงทำให้มีอายุยืนยาว เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้นรัฐบาลจำต้องเพิ่มงบประมาณในการจัดสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น รวมทั้งเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายเสื่อมสภาพตามวัยทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา โดยพบว่าโรคที่เกิดกับให้ผู้สูงอายุของไทย 5 อันดับแรกในผู้ชายได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวานและมะเร็งตับ ส่วนในเพศหญิงได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองเสื่อมและโรคซึมเศร้า ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคได้ หากมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
ตำบลโคกสมบูรณ์ ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) แล้ว โดยมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 16.2 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกาย ลดอัตราการเจ็บป่วย โดยกิจกรรม 3 อ ได้แก่ 1. อ.อาหาร กินอาหารหลายประเภทได้สัดส่วนเพียงพออิ่มในมื้ออาหาร 2. อ.ออกกำลังกาย ออกกำลังกายทุกสัดส่วน กระตุ้นจังหวะเต้นของหัวใจ และ 3. อ.อารมณ์ อารมณ์ดี ร่าเริงด้วยรอยยิ้ม จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม |
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพตัวเองสามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
2.เพื่อใหผู้สูงอายุมีกิจกรรมร่วมกันในโรงเรียนผู้สูงอายุ
3.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลโคกสมบูรณ์ |
|
เครื่องมือ : |
-แบบสอบถาม
-โปรแกรมอบรมให้ความรู้และทักษะการดูแลตนเอง เก็บข้อมูลก่อนและหลังโครงการด้วยแบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. รับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ
2. ประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ร่วมโครงการ
3. พัฒนาความรู้ เพิ่มพูนทักษะการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ตามหลัก 3 อ. โดยดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลโคกสมบูรณ์
4. ผู้สูงอายุนำหลัก 3 อ. ไปปฏิบัติต่อที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ตามบริบทของแต่ละคน
5. ติดตามพฤติกรรมการดูตนเองของผู้สูงอายุโดยการสนทนากลุ่มในโรงเรียนผู้สูงอายุ
6. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุเพื่อเสริมแรงในการดูแลสุขภาพตนเอง ร่วมกับ ผู้นำชุมชน อบต.โคกสมบูรณ์ อสม.
7. ประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุหลังเข้าร่วมโครงการ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามแนวทาง 3 อ ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมไม่แตกต่างกัน (p =0.46) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ผู้สูงอายุที่ร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลโคกสมบูรณ์ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง จากการที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้รับความรู้ และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง จึงทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามแนวทาง 3 อ ทั้งก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม
ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามแนวทาง 3 อ ของผู้สูงอายุที่ร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลโคกสมบูรณ์ พบว่ามีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตัวเองตามแนวทาง 3 อ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากเมื่อกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ในระดับมากอยู่แล้ว การเสริมกิจกรรมการดูแลสุขภาพตามแนวทาง 3 อ มีการสาธิต และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย การยกตัวอย่างภาพประกอบอาหารเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการทำสมาธิ การผ่อนคลายความเครียด รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับรู้ถึงภาวะเสื่อมของร่างร่างการ ที่จะส่งผลให้เกิดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค การส่งเสริมให้รับรู้ว่าหากเกิดโรคในผู้สูงอายุ จะมีความรุนแรงของโรคมากเนื่องจากการเสื่อมของสภาพร่างกาย ซึ่งการรับรู้ความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรค รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับรู้ถึงประโยชน์ของการดูแลสุขภาพตนเอง จึงส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองไปในแนวทางที่ดีขึ้น จึงมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามแนวทาง 3 อ สูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินกิจกรรม |
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ควรมีการประยุกต์เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของประชาชนกลุ่มอื่นๆ
2. เนื่องจากกิจกรรมการดูแลสุขภาพต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีการศึกษาเพื่อการติดตามผล และประเมินผลความยั่งยืนของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุเพื่อนำผลการ ศึกษาไปพัฒนา ปรับปรุงใช้ต่อไป
3. ควรมีการศึกษาวิจัยที่เชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของระบบบริการสาธารณสุข และผู้ให้บริการ องค์กรท้องถิ่น และภาคประชาชน เพื่อเป็นการพัฒนาความสามารถในการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุที่ยั่งยืนต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|