ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการสมบัติผลัดกันชม ปี 2558
ผู้แต่ง : นายนิรัตน์ โมลาขาว ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การปฏิบัติงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ระบบข้อมูลข่าวสาร/ระบบสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการกับองค์กร ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็วทันต่อเวลาและมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งข้อมูลที่จะได้ต้องได้รับความร่วมมือ ความเข้าใจ ประสบการณ์ตลอดจนทักษะที่ดีของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่จะจัดการ รวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพเป็นกลุ่มงานหนึ่ง ที่มีความสำคัญในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การขึ้นทะเบียนบัตร ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการเรียกเก็บรายได้และตามจ่ายกรณีผู้ป่วยส่งต่อ(ผู้ป่วยนอก) ซึ่งต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะที่ดี/ต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน จากการปฏิบัติงานพบว่ามีการย้าย/เปลี่ยนงานบ่อย ทำให้เจ้าที่ที่ปฏิบัติงานขาดความรู้ ความเข้าใจ ที่สำคัญคือทักษะในการปฏิบัติงาน จากปัญหาข้างต้นกลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ โรงพยาบาลห้วยผึ้ง จึงได้จัดทำกิจกรรมการพัฒนาระบบการปฎิบัติงานโดยใช้ Flow chart โดยให้ผู้ปฏิบัติงานถ่ายทอดทักษะ ประสบการณ์การทำงานในงานต่างๆที่ตนรับผิดชอบแบบง่าย ลงใน Flow chart ซึ่งผู้อื่นสามารถทำตามได้ โดยไม่ต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมมากนัก แต่ถ้าอยากรู้ในรายระเอียดก็สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในภายหลัง  
วัตถุประสงค์ : - เพื่อพัฒนาระบบการปฎิบัติงานโดยใช้ Flow chart - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานทดแทนซึ่งกันและกัน - เพื่อลดระยะเวลาการแทน(กรณีผู้รับผิดชอบไม่อยู่) ได้ภายใน 10 นาที  
กลุ่มเป้าหมาย : - เจ้าหน้าที่ทุกคนทำ Flow chart งานที่ตนเองปฏิบัติ ทุกงาน - เจ้าหน้าที่อื่นสามารถปฏิบัติตาม Flow chart สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิน 10 นาที  
เครื่องมือ : -Flow chart ลำดับขั้นตอน/ วิธีการปฏิบัติงาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และวางแผน (Plan) • ทบทวนกระบวนการทำงานในปีงบประมาณ 2557 วิเคราะห์พบว่า 1. เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบย้าย/ไม่อยู่ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนทำแทนไม่ได้หรือทำได้แต่ช้ามาก ต้องศึกษาจากหนังสือและฝึกทำที่ละขั้นตอน 2. ส่งรายงานช้าไม่ทันเวลาตามกำหนด 3. จากการดำเนินงานปี 2557 ได้ผลดี จึงขยายการจัดทำ Flow chart ที่ปฏิบัติ ทุกงาน 4. มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานและมีงานอื่นเพิ่ม จึงตองปรับปรุง Flow chart และจัดทำใหม่ในงานที่เพิ่มมา • วางแผนการทำงาน 1. ประชุมทำความเข้าใจถึงสภาพปัญหา แผนงาน ที่จะดำเนินการ 2. จัดทำ Flow chart งานที่ตนเองปฏิบัติ ทุกงาน 3. ทดสอบความถูกต้องของ Flow chart ด้วยตนเองและปรับปรุงให้ถูกต้อง 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฎิบัติงานตาม Flow chart โดยเจ้าที่อื่น ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติงานตามแผน (DO) ปฏิบัติงานตามแผนการทำงานที่ได้วางไว้ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล (Check) 1. Flow chart งานที่ปฏิบัติ 2. ความสามารถในการปฏิบัติตาม Flow chart 3. การปรับปรุง Flow chart ให้เป็นปัจจุบัน • เกณฑ์การประเมินผล 1. เจ้าหน้าที่ทุกคนทำ Flow chart งานที่ตนเองปฏิบัติ ทุกงาน 2. เจ้าหน้าที่อื่นสามารถปฏิบัติตาม Flow chart สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิน 10 นาที 3. ปรับปรุง Flow chart ทุกครั้ง กรณีมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 4 สะท้อนผลการปฏิบัติ (Act) สรุปผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน เพื่อพัฒนาระบบการทำงานให้ดีขึ้น  
     
ผลการศึกษา : - จากการดำเนินงานพบว่า มีการจัดทำ Flow chart จำนวน 29 งาน จากเจ้าหน้าที่ 7 คน เฉลี่ย 4 เรื่องต่อ 1 คน - เจ้าหน้าที่อื่นสามารถปฏิบัติตาม Flow chart ได้ถูกต้อง ครบถ้วน พร้อมส่งผลงาน ไม่เกิน 10 นาที คิดเป็น 68.97 % ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ปฎิบัติง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะ สามารถส่งมอบงานแก่ผู้รับบริการได้ เช่น การตรวจสอบสิทธิ การขึ้นทะเบียนบัตรทอง การขึ้นทะเบียนจ่ายตรง การพิมพ์บัตรทอง เป็นต้น ในบางเรื่องไม่สามรถปฎิบัติได้ตามกำหนดเวลา เนื่องจากต้องใช้ทักษะในการปฎิบัติงาน และการศึกษาทำความเข้าใจ การปฎิบัติงานอย่างละเอียด เช่น การเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น - มีการปรับปรุง Flow chart กรณี มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการปฎิบัติ 14 เรื่อง เนื่องจาก บางงานมีการเปลี่ยนแปลงระเบียบปฎิบัติ  
ข้อเสนอแนะ : - เจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับการทบทวนแนวทางการปฏิบัติงานของตนโดยใช้ Flow chart - มีการปรับปรุง Flow chart ให้เป็นปัจจุบันเสมอ - ฝึกปฏิบัติงานซึ่งกันและกัน เพื่อปฏิบัติงานแทนในกรณีผู้รับผิดชอบไม่อยู่หรือย้าย - ผู้รับบริการไม่ต้องเสียเวลารอหรือนัดมารับบริการวันใหม่  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)