ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแสนสุข ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ในปี 2557 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ15.3 ของประชากรทั้งประเทศ และในอีก 20 ปีข้างหน้า จะเพิ่มสูงขึ้นถึง19 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 29 ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตามที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดคำนิยายามไว้ ซึ่งโครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทยโดยรวม และนับจากนี้ไปจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม จากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นทั้งระดับภาครัฐและครัวเรือนในเรื่องสวัสดิการและสุขภาพ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพทางร่างกายร่วมกับภาวะเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้การดูแลมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น และมีความต้องการใช้บริการด้านสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ผลจากความเจ็บป่วยยังทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มีส่วนช่วยเหลือผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านแสนสุขนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 12 คน และสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนบ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 79 คน คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของประชากรทั้งหมด มีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 2.72 โรคเบาหวานร้อยละ 6.93 ภาวะซึมเศร้าร้อยละ 2.73 ข้อเข่าเสื่อมร้อยละ 2.53 และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ร้อยละ 15.35 ผู้สูงอายุติดสังคมร้อยละ 96.20 ติดบ้านร้อยละ 2.53 และติดเตียงร้อยละ 0.12 ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากปัญหาที่ในชุมชนมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและยังได้รับการดูแลที่ยังไม่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อที่จะนำผลการศึกษามาพัฒนางานการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในระดับต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 12 คน  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 คือประชุมกลุ่ม เพื่อหาปัญหาและความต้องการให้การดูแลของผู้สูงอายุ และระยะที่ 2 แบ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดูแลผู้สูงอายุตามหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ  
     
ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีรายละเอียดดังนี้ แรงจูงใจ พบว่า ภาพรวมของแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.553, p-value < 0.001) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.410, r = 0.595, p-value < 0.001 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ พบว่า ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก โดยปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r = 0.358, p-value < 0.001) รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r = 0. 356, p-value < 0.001) และ ปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ด้านลักษณะของงาน มีความสัมพันธ์ระดับต่ำ (r = 0.297, p-value < 0.001) และพบว่า ปัจจัยค้ำจุน ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก โดย ปัจจัยค้ำจุนที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงานโดยมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0. 568, p-value < 0.001) รองลงมาคือ ด้านนโยบายและการบริหาร มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.549, p-value < 0.001) และปัจจัยค้ำจุนที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ด้านเงินเดือนหรือค่าตอบแทน มีความสัมพันธ์ระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.160, p-value < 0.001)  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)