ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ตำบลโคกสมบูรณ์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ชิษณุพงศ์ ดาด้วง,สมศักดิ์ บุ่งนาแซง,ทศพล ศรีชัยชิต ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลโคกสมบูรณ์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการสุ่มตรวจระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร พบว่ามีระดับปลอดภัย ร้อยละ 54.1 และระดับ ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 45.9 ซึ่งปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด มีความสัมพันธ์กับการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มสารออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต เพราะสารทั้งสองกลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปยับยั้งเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเกือบร้อยละ 50 ของเกษตรกรในตำบลโคกสมบูรณ์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ สามารถชี้ให้เกษตรกรสามารถรับรู้ได้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค รับรู้ความรุนแรงจากอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจากกรอบแนวคิดของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพหากบุคคลได้รับรู้ในปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะนำไปสู่พฤติกรรมการป้องกันโรคในที่สุด  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ตำบลโคกสมบูรณ์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรในตำบลโคกสมบูรณ์ จำนวน....ุ60....คน  
เครื่องมือ : 1. โปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2. เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3. ผลการตรวจระดับสารเคมีในเลือด  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. สุ่มกลุ่มตัวอย่าง และรับสมัครเข้าร่วมโครงการ 2. เก็บข้อมูลก่อนเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรม 3. กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วม กิจกรรมตามโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4. เก็บข้อมูลหลังร่วมกิจกรรมตามโปรแกรม 5. เก็บข้อมูลในระยะติดตาม 6. สรุป ประเมินผลโครงการ  
     
ผลการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน ซึ่งกลุ่มทดลองจะใช้โปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ความเชื่อด้านสุขภาพ โดยจัดกิจกรรม 2 ครั้ง ครั้งแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บในระยะก่อนทดลอง, หลังทดลองทันที และในระยะติดตาม 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วย Paired t-test, Independent sample t-test, One sample t-test และ Chi-Square  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง