ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม “ผ้าปิดตาปลอดภัย ลดห่วงใยพ่อแม่”
ผู้แต่ง : พัชรินทร์ วันชูเสริม พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ตึกหลังคลอดรับบริการดูแลมารดาและทารกหลังคลอด จากการดูแลทารกหลังคลอดพบภาวะตัวเหลืองในทารกที่ต้องได้รับการรักษาโดยการส่องไฟรักษา โดยการใช้ผ้าปิดตาแบบใช้แผนฟิล์มดำหุ้มด้วยผ้าก๊อส ติดด้วย พลาสเตอร์ เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดจากตาเด็ก โดยใช้พลาสเตอร์ติดบริเวณผิวหนังและเส้นผมของทารก ผลที่เกิดขึ้นพบว่า เวลาแกะพลาสเตอร์ออก ทารกจะร้องมาก และมีรอยแดงบริเวณที่พลาสเตอร์ติดผิวหนังทารก บางครั้งมีเส้นผมทารกติดมาด้วย ทำให้มารดาทารกและญาติไม่พึงพอใจและไม่ต้องการให้ทารกส่องไฟรักษา เนื่องจากสงสารทารก ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จากเหตุผลดังกล่าว ตึกหลังคลอดจึงได้คิดค้นนวัตกรรม “ผ้าปิดตาปลอดภัย ลดห่วงใยพ่อแม่”ขึ้น เพื่อลดปัญหาการเกิดรอยแดง และลดความเจ็บปวดของทารก มารดาและญาติมีความพึงพอใจลดความวิตกกังวลเต็มใจให้ทารกรับการส่องไฟรักษา ทำให้การส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองของทารกมีประสิทธิภาพและทำได้เต็มที่ มากขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. ลดความเจ็บปวดจากการใช้ผ้าปิดตา และลดการระคายเคือง 2. เพื่อความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อน จากการใช้ผ้าปิดตาแบบเดิม 3. เพื่อความพึงพอใจของมารดาทารกและญาติ มากกว่า 80 %  
กลุ่มเป้าหมาย : เด็กที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟในรอบ 4 เดือน จำนวน 20 ราย  
เครื่องมือ : “ผ้าปิดตาปลอดภัย ลดห่วงใยพ่อแม่”  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ภายในหน่วยงานคิดประดิษฐ์ผ้าปิดตา 2. ประดิษฐ์ผ้าปิดตา 3. ทดลองใช้จริงในเด็กที่ต้องใช้ผ้าปิดตา เพื่อรักษาแบบส่องไฟรักษา 4. พัฒนาและปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น 5. ประเมินผลและสอบถามความพึงพอใจของมารดาทารกและญาติ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ความปลอดภัย ลดการระคายเคือง ความสะดวกสบายของมารดาในการดูแลทารก และลดความเจ็บปวดของทารกจากการแกะพลาสเตอร์แบบเดิม มารดาและญาติมีความพึงพอใจ มากกว่า 80 %  
     
ผลการศึกษา : เด็กที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาในรอบ 4 เดือน ทั้งหมด 20 ราย ใช้เวลาส่องไฟรักษา 1-2 วัน โดยในครึ่งวันแรกใช้ผ้าปิดตาแบบเดิมโดยติดด้วยพลาสเตอร์แล้วแกะออกเช็ดตาเช็ดสะดือตอนเที่ยง พบว่าเด็กร้องมาก มีรอยแดงบริเวณที่ติดพลาสเตอร์ และอีกครึ่งวันใช้ผ้าปิดตาแบบใหม่ในเด็กที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟรักษา พบว่าเด็กไม่เกิดรอยแดงและไม่มีความเจ็บปวดเวลาแกะผ้าปิดตาออก มารดาทารกและญาติ มีความพึงพอใจ คิดเป็น 96 %  
ข้อเสนอแนะ : โอกาสพัฒนา 1.การหาขนาดผ้าปิดตาแบบหน้ากากที่เหมะสม เนื่องจากขนาดของศีรษะทารกไม่เท่ากัน 2. ความสวยงามน่าใช้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ