ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การลดแผลฝีเย็บแยกและแผลฝีเย็บติดเชื้อ
ผู้แต่ง : ศิริวรรณ ช่วยรักษา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากอุบัติการณ์การคลอดที่โรงพยาบาล ที่ได้รับการซ่อมแซมแผลฝีเย็บในปี 2557 จำนวน 181 พบแผลฝีเย็บแยกไม่มีหนอง 2 ราย คิดเป็น 1.10 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบแผลฝีเย็บมีหนองติดเชื้อ ปี 2558 จำนวน 144 ราย ไม่พบแผลฝีเย็บแยก และไม่พบแผลฝีเย็บไม่มีหนองติดเชื้อ ปี 2559 จำนวน 121 ราย พบแผลฝีเย็บแยกไม่มีหนอง 8 ราย คิดเป็น 6.61 เปอร์เซ็นต์ แผลฝีเย็บแยกร่วมกับมีหนองติดเชื้อ 2 ราย คิดเป็น 1.65 เปอร์เซ็นต์ เชื้อที่พบจากการเฝ้าระวังเป็นเชื้อ Klebsiella Pnemoniae จึงได้วิเคราะห์ทบทวนทุกระบบที่เกี่ยวข้อง นำไปพัฒนาระบบงานเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ ช่วยลดอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บและลดอุบัติการณ์แผลฝีเย็บแยกที่ต้องได้รับการ Re-suture จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า 1. เกิดจากการคลอดยาก ในระยะที่2 การคลอดยาวนานมีการปนเปื้อนอุจจาระขณะคลอด 2. เจ้าหน้าที่หมุนเวียนและเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานใหม่ ทำให้เทคนิคการเย็บแผลไม่ชำนาญ 3. Aseptic Technique ยังไม่ได้มาตรฐาน เช่น การล้างมือ การใช้เครื่องมือป้องกันที่เหมาะสม 4. เครื่องมือ ของใช้ น้ำยาต่างๆหมดอายุ 5. ความสะอาดของอาคาร สถานที่ เช่น ห้องคลอด เตียง โต๊ะวางเครื่องมือ 6. ผู้รับบริการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง 7. ระบบการเฝ้าระวัง การวินิจฉัย การรักษา  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อลดอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บ 2. เพื่อลดอุบัติการณ์แผลฝีเย็บแยกที่ต้องรับการ Re-suture 3. ร้อยละของเจ้าหน้าที่มีทักษะในการปฏิบัติงานห้องคลอด  
กลุ่มเป้าหมาย : เจ้าหน้าที่ห้องคลอดและเจ้าหน้าที่ที่หมุนเวียนและเจ้าหน้าที่ใหม่ที่มาปฏิบัติงานที่ห้องคลอด ผู้รับบริการ  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. สอนเทคนิคการเย็บแผลที่ถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่ห้องคลอดและเจ้าหน้าที่ที่หมุนเวียนและเจ้าหน้าที่ใหม่ที่มาปฏิบัติงานที่ห้องคลอด 2. จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการเป็นพยาบาลที่มีความชำนาญ (โดยเฉพาะนอกเวลา) 3. ทบทวน Aseptic Technique - การล้างมือที่ถูกวิธีก่อนและหลังทำคลอด น้ำยาล้างมือที่เหมาะสมเป็น Hibiscrub - การเปลี่ยนชุดเป็นกาวน์ห้องคลอด หมวก mask รองเท้า - ขั้นตอนการเย็บแผล การทำคลอด การscrub ก่อนคลอด ก่อนเย็บแผล การใช้ยาชาที่เหมาะสม - ไม่สวนอุจจาระแต่เน้นการทำความสะอาดขณะคลอด 4. การตรวจสอบของหมดอายุ ทุกเวร การจัดเก็บของให้ถูกต้อง ไม่มีของหมดอายุไว้ ในหน่วยงานของต้องมีพร้อมใช้ - น้ำยาระบุวันหมดอายุ น้ำเกลือล้างแผลใช้ภายใน 24 ชั่วโมง - แยกเครื่องมือทำคลอดและ set เย็บแผลออกจากกัน - การทำความสะอาดของเตียง ของใช้หลังคลอดทุกรายเป็นมาตรฐานเดียวกัน - ระบบระบายอากาศดี - ถังขยะ การจัดเก็บ แยกขยะที่ถูกต้อง นำขยะติดเชื้อออกจากห้องคลอดหลังการคลอดเสร็จสิ้น 5. ผู้รับบริการ - สอนการดูแลแผลที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ มีการประเมิน ติดตาม ดูแลแผล - จัดทำเอกสารการดูแลแผลแจกผู้รับบริการ 6. ปรับปรุงระบบการเฝ้าระวัง ดังนี้ - ระบบการสื่อสาร ส่งต่อในระหว่างเวร - บันทึกความผิดปกติถ้าพบแผลบวมแดงให้ Antibiotic ทันที (ในรายปกติไม่มีการให้ Antibiotic) - แผลอักเสบมีหนอง เก็บ culture สำรวจทุกราย - ทบทวน conference case ที่ติดเชื้อทุกราย หาปัญหาและแก้ไขทันที - แบบเฝ้าระวังด้วยการส่ง IC Nurse เก็บข้อมูล - การติดตามแผลฝีเย็บเมื่อจำหน่าย คือ โทรติดตาม นัดมาดูแผล ให้คำแนะนำถ้าแผลแยก แผลไม่ติด บวมแดง มีหนอง มีกลิ่นเหม็นผิดปกติให้กลับมารับบริการที่โรงพยาบาลอีก - คำจำกัดความแผลติดเชื้อจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลและแผลแยกจากเทคนิคการเย็บ ไม่ถูกวิธี แยกออกจากกันชัดเจน จะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้อง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ