ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปลอกแขนยึดเข็มหนูน้อย
ผู้แต่ง : พลอยจิรา พิมพ์รส ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : หน่วยงานห้องคลอดมีทารกแรกเกิดที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาฆ่าเชื้อและสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ทำให้มีการใช้อุปกรณ์ในการยึดติดต่อ case มากขึ้น แต่เดิมทางหน่วยงานห้องคลอดจะใช้Top gauze รองมือทารกไว้และใช้พลาสเตอร์ติดแล้วใช้ low gauze พันทับติดกับอวัยวะที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นแบบใช้แล้วทิ้งทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและเกิดปัญหาในการประเมินบริเวณที่ให้สารน้ำว่ามีการบวมหรือการเลื่อนหลุดของข้อต่อสายให้สารน้ำหรือไม่ เพราะหากแกะ low gauze ออกแล้วต้องเปลี่ยนอันใหม่ทุกครั้งทำให้เกิดความยุ่งยากและสิ้นเปลือง ส่งผลให้การประเมินล่าช้าและทารกมีโอกาสเกิดการติดเชื้อบริเวณที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำได้ง่าย นอกจากนี้บางครั้งพันก๊อสติดพลาสเตอร์แน่นเกินไปทำให้อวัยวะส่วนนั้นมีการไหลเวียนเลือดไม่ดี ผิวหนังเขียว และทารกเจ็บปวด รวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากที่ต้องใช้ในแต่ละครั้งเพื่อให้เพียงพอกับการใช้งาน ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แรงงาน เวลา ดังนั้นทางหน่วยงานห้องคลอดจึงได้คิดค้นปลอกแขนยึดเข็มหนูน้อยขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้ผ้าเย็บซึ่งสามารถแกะดูบริเวณที่ให้สารน้ำได้ ไม่ยุ่งยาก และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดระหว่างข้อต่อเข็มกับสายให้น้ำเกลือ 2. เพื่อให้ง่ายต่อการประเมินผิวหนังบริเวณที่ให้สารน้ำว่าบวม แดง หรือมีการติดเชื้อหรือไม่ 3. เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 4. ลดเวลา อุปกรณ์ แรงงาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ทารกแรกเกิด  
เครื่องมือ : 1. เศษผ้า 2. กระปุกน้ำเกลือที่ใช้แล้ว 3. เข็ม ด้าย กรรไกร 4. ตีนตุ๊กแก 5. gauze  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ตัดเย็บผ้าตามขนาน S=14x5cm M=16x6cm L=20x7cm 2. เว้นช่องสำหรับใสแผ่นน้ำเกลือตามขนาด และ gauze 3. เย็บตีนตุ๊กแกให้เรียบร้อยพร้อมใช้งาน  
     
ผลการศึกษา : 1. การเลื่อนหลุดของข้อต่อเข็มกับสายให้น้ำเกลือหรือเข็มในเด็กแรกเกิดลดลงน้อยกว่าร้อยละ 10 2. ไม่พบปัญหาการติดเชื้อ 3. อัตราความพึงพอใจของผู้ปกครองมากกว่าร้อยละ 85 4. ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาและแรงงาน  
ข้อเสนอแนะ : จากที่หน่วยงานห้องคลอดได้นำนวัตกรรมปลอกแขนยึดเข็มหนูน้อยมาใช้ในทารกทุกรายที่ได้ให้ยาปฏิชีวนะและสารน้ำทางหลอดเลือดดำนั้นไม่พบปัญหาการเลื่อนหลุด ไม่พบปัญหาการติดเชื้อบริเวณที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และง่ายต่อการประเมินผิวหนังทารกได้เร็วขึ้นและนวัตกรรมปลอกแขนยึดเข็มหนูน้อยสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกและยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลอีกด้วย และหน่วยงานห้องคลอดยังเผยแพร่นวัตกรรมดังกล่าวนำกับผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยใน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)