|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครือข่ายแกนนำสุขภาพตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ภูพาน สันประภา,สุธาสินี เซ็นกลาง,พัชลี ไชยเกรินทร์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย มีรายงานตรวจพบพยาธิใบไม้ตับ(Opisthorchis viverrimi) ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2458 ต่อมาในปี พ.ศ.2480 มีรายงานพบผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีและเริ่มมีการตั้งข้อสังเกตว่าการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรงมะเร็งท่อน้ำดี ในปี พ.ศ.2506 มีรายงานวิเคราะห์การตรวจชิ้นเนื้อตับและแสดงหลักฐานให้เห็นความสัมพันธ์พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี (ไพบูลย์ สิทธิถาวร และคณะ,2544)
จากการสำรวจของกรมควบคุมโรคติดต่อ ในปี พ.ศ.2523-2524 พบอัตราความชุกผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 14.72 พบมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ34.60 ภาคกลาง ร้อยละ6.34 ภาคเหนือ ร้อยละ 5.59 และไม่พบรายงานผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับในภาคใต้ และในปี พ.ศ.2534 พบอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ24.01 ภาคเหนือและภาคกลาง พบอัตราความชุก ร้อยละ22.88 และ 7.32 ตามลำดับ และ ปี พ.ศ.2539 พบอัตราความชุกโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ร้อยละ 11.80 (กรมควบคุมโรคติดต่อ,2544) และจากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคในปี พ.ศ.2556 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 257 ราย จาก 6 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ อัตราป่วย ร้อยละ 0.40 ต่อแสนประชากร จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ สกลนคร ขอนแก่น มุกดาหาร สระแก้ว และนครพนม อัตราป่วย 15.38,4.60,0.30,0.18 และ 0.14 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค,2556)
องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและยอมรับให้โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุที่สำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็งตับ สาเหตุการรับประทานอาหารประเภทที่ปรุงจากปลาน้ำจืดเกล็ดขาวตระกูลปลาตะเพียนปรุงดิบ หรือปรุงสุกๆดิบๆซึ่งมีตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับปนเปื้อน เช่น ก้อยปลาดิบ ลาบปลาดิบ ปลาส้ม ปลาร้าดิบ หรือส้มตำปลาร้าดิบ เป็นต้น ถ้าคน แมว สุนัข ซึ่งเป็นสัตว์รังโรคพยาธิใบไม้ตับ ถ่ายอุจจาระปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงรับเป็นแกนนำหลักในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยกำหนดยุทธศาสตร์ ลดลดพยาธิใบไม้ตับ กำจัดมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสาน สานต่อแนวคิดสุขภาพดีแบบพอเพียงตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางพัฒนา สร้างสมดุลในทุกมิติและสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งให้กับคนอีสานและประเทศ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของคนอีสาน ด้วยการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในทุกระดับทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และภาค ให้ก้าวไปสู่ระบบสุขภาพพอเพียงและสังคมอยู่เย็นเป็นสุข และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยาระดับตำบล จึงสนใจศึกษาการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครือข่ายหมอครอบครัวชุมชน ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประยุกต์หลักทฤษฎีกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ Mc Taggart (1988) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) เพื่อหาแนวทางที่ดีในการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครือข่ายหมอครอบครัวชุมชนและที่สำคัญเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในชุมชนที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาบริบทการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครือข่ายหมอครอบครัวชุมชน ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
2.เพื่อศึกษาการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครือข่ายหมอครอบครัวชุมชน ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
3. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ การปฏิบัติตัวและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครือข่ายหมอครอบครัวชุมชน ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
4. เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครือข่ายหมอครอบครัวชุมชน ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับในตำบลนามะเขือ |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม
แบบวัดความรู้ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ขั้นเตรียมการก่อนการวิจัย
1.ประชุมชี้แจงรายละเอียดงานวิจัยให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนามะเขือได้รับทราบ
2.คัดเลือกชุมชนและศึกษาชุมชน
3.ประสานผู้นำชุมชน
ขั้นดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้หลักของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ตามแนวคิดของ Kemmis และ Mc Taggart (1988) ประกอบด้วยการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน
1. ขั้นการวางแผน (Planning)
2. ขั้นปฏิบัติการ (Action)
3. ขั้นสังเกตการณ์พัฒนา (Observation)
4. ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection)
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|