|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าของบุคลากรในโรงพยาบาลท่าคันโท |
ผู้แต่ง : |
ประภาศรี ภูผายาง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
สภาพสังคมปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งภาวะเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี
สารสนเทศ และสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทยที่จะต้องเผชิญกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ ทำให้บุคคลต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ดำรงชีวิตรอดได้ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งความสามารถในการปรับตัวของบุคคลมีระดับที่แตกต่างกัน คนที่ปรับตัวได้จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข ส่วนบุคคลที่ไม่สามรถปรับตัวได้ก็จะก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งมีผลกระทบกับสภาพจิตใจที่ผิดปกติ เกิดอารมณ์ไม่เป็นสุข ไม่พอใจ ไม่สบายใจ กังวล กลัว หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ ฟื้นฟูสภาพจิตใจสภาพจิตใจอาจจะมีการพยากรณ์ของโรคที่เลวลงจนเกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้
ความครียด เป็นกระบวนการที่ร่างกายถูกคุกคาม ทำให้ร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงและขาดสมดุลทางสรีรวิทยา ชีววิทยาและชีวเคมีของร่างกาย การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันตามปัจจัยภายในเช่น อายุ เพศ พันธุกรรม และปัจจัยภายนอก เช่น ฮอร์โมน ยาและอาหารที่ได้รับ เป็นต้น ถ้าความเครียดหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นพร้อมกันจะทำให้ความต้านทานต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเครียดลดลง (Selye, 1976) ความเครียดมาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยที่บุคคลเป็นผู้ประเมินด้วยบุคลิกลักษณะของตนเองส่วนหนึ่ง และตามธรรมชาติของเหตุการณ์ในขณะนั้น ถ้าความสัมพันธ์เกินขีดความสามารถหรือทรัพยากรที่ตนมีอยู่ที่จะใช้ต่อต้านได้ รู้สึกว่าถูกคุกคามหรือเป็นอันตรายต่อความเป็นสุขของตนเอง(Lazarus & Folkman, 1984) นอกจากนี้ ความเครียดก่อให้เกิดการจัดการเพื่อตอบสนองสิ่งที่เกิดขึ้น จากสภาวะแวดล้อมภายนอก ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกาย สภาพจิตใจและสามารถทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทางพฤติกรรมของบุคคลได้ (Luckman & Soreson, 1987)
สาเหตุของความเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ผลเสียทางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลที่มีผลมาจากความเครียด พบว่า บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ทำให้ความพึงพอใจในการทำงานลดลง เกิดความเบื่อหน่ายในงาน ขาดความตั้งใจ ความรับผิดชอบในงานลดลงเกิดการลาป่วย ขาดงาน โอนย้าย ลาออก และทำให้ประสิทธิภาพในการคิด และปฏิบัติงานลดลง (สิริภรณ์ หันพงศ์กิตติกุล 2542)
โรคซึมเศร้า คือ อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสีย ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่ดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง มีอาการต่างๆ ติดตามมา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะเข้าข่ายของโรคซึมเศร้า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรือมีงานบ้านคั่งค้าง คนที่ทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ จนถูกเพ่งเล็ง ตัวโรคทำให้การประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ บกพร่องลง และผู้ที่เป็นอาจไม่มีอาการตามนี้ไปทั้งหมด แต่อย่างน้อยอาการหลักๆ จะมีคล้ายๆ กัน เช่น รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่ดี (มาโนช หล่อตระกูล, 2559)
โรงพยาบาลท่าคันโท เป็นองค์กรของรัฐที่มีลักษณะงานเป็นการบริการทางสุขภาพ ที่จะต้องเผชิญกับความเครียดจากการทำงานบนความคาดหวังสูงจากผู้มารับบริการ และลักษณะงานที่ทำให้เกิดความเครียดกับบุคลากร จาการศึกษาการเผชิญความเครียดโดยเปรียบเทียบกระบวนการระหว่างการเผชิญความเครียดแบบมุ่งปรับอารมณ์ และ แบบมุ่งแก้ปัญหา พบว่า การเผชิญความเครียดแบบมุ่งปรับอารมณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงกว่าแบบมุ่งแก้ปัญหาในการเผชิญความเครียด (Hasida, 2005: 188-196) ในทางตรงกันข้ามหากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ว่ามีความรุนแรงน้อย บุคคลจะเลือกวิธีการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหามากกว่าแบบมุ่งปรับอารมณ์ เนื่องจากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้บุคคลมีการเลือกใช้รูปแบบการเผชิญความเครียดทั้งสองแบบผสมผสานกัน และยังพบปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเผชิญความเครียด เช่น ทรัพยากรที่มีในบริบทนั้นๆ ประสบการณ์ในอดีต ความเชื่อส่วนบุคคล บุคลิกภาพ การได้รับความช่วยเหลือเกื้อหนุน และความชำนาญในการแก้ปัญหา เป็นต้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
6.1 ความมุ่งหมายทั่วไป
เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากร
โรงพยาบาลท่าคันโท
6.2 ความมุ่งหมายเฉพาะ (เพื่อศึกษา)
6.2.1 บริบทของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลท่าคันโท
6.2.2 รูปแบบการจัดการภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ
บุคลากรโรงพยาบาลท่าคันโท
6.3.3 ผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลท่าคันโท
6.3.4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะเครียดและภาวะ
ซึมเศร้าเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลท่าคันโท
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
บุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานของโรงพยาบาลท่าคันโท จำนวน...134.....คน บุคลากรที่ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่และอาศัยอยู่จริงในช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย
เกณฑ์คัดเข้า ดังนี้
1) เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลท่าคันโท
2) ยินยอมเข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ
เกณฑ์คัดออก ดังนี้
1) บุคลากรที่ไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมกระบวนการวิจัยและขอถอนตัวได้ทุกช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย
|
|
เครื่องมือ : |
1. แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลท่าคันโท
2. แบบประเมินความเครียด (ST-5)
3. แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)
4. แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. สังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
2. กำหนดตัวแปร และเลือกแบบสอบถาม
3. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลือกแบบสอบถาม จำนวน 3 ท่าน
4. เก็บข้อมูล
5. วิเคราะห์ ประเมินผลการวิจัย
6. เผยแพร่ผลการวิจัย
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|