ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการหกล้มในผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : เลยนภา โคตรแสนเมือง ศุภศิลป์ ดีรักษา ภัทรพรรณ ภูโทถ้ำ มณธิดา ธนูชาญ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ด้วยปัจจุบันโครงสร้างของประชากรโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและภูมิภาคต่างๆทั่วโลกกำลังประสบปัญหาจำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่ว่าจะเป็นประเทญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเร็วที่สุดในโลก หรือประเทศไทยกำลังถึงจุดเปลี่ยนที่จะก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) ทั้งนี้การที่ประเทศใดถูกจัดให้อยู่ใน “สังคมผู้สูงอายุ” ประเทศนั้นจะต้องมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก “ผู้สูงอายุ” หรือบุคคลที่มีอายุ 60ปี ขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ (วัชรินทร์ เสมามอญ, 2556) จากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 14.9 ในปี 2557 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง ร้อยละ 54.9 ทั้งนี้ ดัชนีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 22.6 ในปี 2637 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 82.6 ในปี 2557 ทั้งนี้ได้มีการประมาณการว่า ปี 2563 จะมีดัชนีสูงอายุร้อยละ 113.89 และจะเพิ่มสูงขึ้นของดัชนีสูงอายุร้อยละ 179.38 ในปี 2573 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557) และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป จะมีแนวโน้มหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปีและจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป สามารถสรุปได้ว่าความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2556) ส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ดัชนีสูงอายุเพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.8 และระดับความรุนแรงของผู้สูงอายุ อยู่ในอันดับที่ 44 ของประเทศ ทั้งนี้ได้มีการประมาณการว่าปี 2563 จะมีดัชนีสูงอายุร้อยละ 118.84 และ ปี 2573 ดัชนีสูงอายุจะมีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 173.95 ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับของระดับประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2557) ข้อมูลผู้สูงอายุอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้รับการสำรวจ ในปี 2559 มีจำนวนผู้สูงอายุ ...3,941......... คน คิดเป็นร้อยละ...10.65.......ของประชากรทั้งหมดในอำเภอ แบ่งเป็นผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ.....93.45... ติดบ้าน ร้อยละ...5.98.. และติดเตียง ร้อยละ..0.55.... ทั้งนี้ จากรายงานทางการแพทย์ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,ปวดกล้ามเนื้อ,. และ โรคถุงลมโป่งพอง ตามลำดับ จากรายงานการสำรวจพฤติกรรมการของผู้สูงอายุ อำเภอท่าคันโท ประจำปี พ.ศ.2558 พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมด้านการไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 60.42 การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 23.45 มีภาวะเครียด ร้อยละ 13.25 การรับประทานยาไม่ถูกต้อง ร้อยละ. 33.62 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากไม่เหมาะสม ร้อยละ 84.20 และพบประวัติการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 22.34 (คลินิกผู้สูงอายุ, 2559) ซึ่งปัญหาการพลัดตกหกล้มเป็นสาเหตุลำดับแรกๆที่ผู้สูงอายุได้รับบาดเจ็บ คิดเป็นร้อยละ 40.40 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2556) การหกล้มเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) ปัจจัยภายในหรือปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจากการมีพยาธิสภาพจากอายุที่มากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดความพร่องและการทำหน้าที่หรือประสิทธิภาพการทรงตัวลดลง จนนำไปสู่การหกล้มได้ง่าย 2) ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ การวางเฟอร์นิเจอร์และสิ่งกีดขวางในบ้าน พื้นลื่นหรือเปียกแฉะ แสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น จากการวิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาความพร่องทั้งทางด้านการมองเห็น การทรงตัวและการใช้ยา ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากความเสื่อมทางด้านร่างกาย ร่วมกับพยาธิสภาพของโรคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดูแลตนเองและเชื่อศักยภาพในการดูแลตนเองลดลง จึงนำไปสู่การหกล้มได้ง่ายขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง (Self – Efficacy Theory) ของ Bandura (1986 อ้างใน สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, 2553) ซึ่งอธิบายไว้ว่าการรับรู้ความสามารถของตนเองนั้น มีผลต่อการกระทำของบุคคล ซึ่งการรับรู้ความสามารถของตนเองนั้นไม่มีรูปแบบตายตัว หากแต่ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์ตามที่ได้รับ ดังผลการศึกษาของ สุนทรียพรรณ อ่อนสีแดง (2557) ที่นำมาใช้ในการศึกษาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการทางอารมณ์ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าประสิทธิผลของโปรแกรมส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ของ Caplan (1976 อ้างใน สุปรียา ตันสุกล, 2548) ซึ่งอธิบายไว้ว่า สิ่งที่บุคคลได้รับโดยตรงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจเป็นทางข่าวสาร เงิน กำลังงาน หรือทางอารมณ์ จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้รับไปสู่เป้าหมายที่ผู้ต้องการให้ ดังผลการศึกษาของ ฐิติภัค อินทเสม (2557) ที่นำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงพยาบาลมหาสารคาม ซึ่งพบว่ารูปแบบการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้จำนวนบุคลากรสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนได้สำเร็จ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ การดำเนินงานศูนย์โฮมสุขร่วมกับการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าคันโท ซึ่งเน้นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศคติที่ดี และมีพฤติกรรมในการป้องกันการหกล้มอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถให้คำแนะนำผู้อื่นและเป็นต้นแบบให้กับผู้สูงอายุท่านอื่นทั้งในชุมชนได้ พร้อมทั้งนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลท่าคันโท  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวการดูแลตนเองผู้สูงอายุ แบบบันทึกออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุได้แก่ เพศ, อายุ, สถานภาพ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ครอบครัว, โรคประจำตัว/โรคทางระบบ, ประวัติการสูบบุหรี่, ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ และประวัติการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 10 ข้อ ส่วนที่ 2 แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการดูแลของผู้สูงอายุ ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์จากแบบสอบถามของ ฐิติพร ศิริบุรานนท์ (2554) จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนตามแบบของกัตต์แมน (Guttman, 1944 อ้างใน สิน พันธ์พินิจ, 2553) มี 2 แบบ คือ ใช่ และ ไม่ใช่ โดยเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ตอบถูกให้คะแนนเป็น 1 และตอบผิดให้คะแนนเป็น 0 ในการแปลความหมายค่าคะแนน ผู้วิจัยได้กำหนดค่าคะแนนออกเป็น 3 ระดับคือ ความรู้ต่ำ (0-11 คะแนน) ความรู้ปานกลาง (12-15 คะแนน) และความรู้สูง (16-20 คะแนน) ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์จากแบบสอบถาม ฐิติพร ศิริบุรานนท์ (2554) จำนวน 16 ข้อ ส่วนที่ 4 แบบสอบถามพฤติกรรมการในการหกล้มของผู้สูงอายุ ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์จากแบบสอบถามของ วิลาวรรณ สมตนและคณะ (2556) จำนวน 20 ข้อ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง