|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พลังพละภูมิ พลังของคนรักบ้านเกิด |
ผู้แต่ง : |
นางสาวจุฑารัตน์ อัศวภูมิ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันการทำการเกษตรมีความสะดวกจากการเดินทางข้ามสะพานเทพสุดา มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และชุมชนมีเกษตรกรที่มีความรู้ในการจัดการสวน มีร้านค้าขายอาหารและผลิตภัณฑ์จากชุมชนออกจำหน่ายได้ทุกวัน จนทำให้ชุมชนตื่นตัว(บ้านหนองสามขา ม.๕)และอยากให้เกิดกิจกรรมอาสาพัฒนาประกอบกับลักษณะของคนในชุมชน มีความขยัน หมั่นเพียร ความอบอุ่นแบ่งปัน มีความเสียสละ และอย่างสร้างชุมชนให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางผู้เข้าร่วมประชุมจึงได้จัดตั้งกลุ่ม โดยกลุ่มที่เหมาะสมและเข้ากับบริบทของชุมชน คือ กลุ่ม “พลังพละภูมิ” |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้ชุมชน โรงเรียน สวนสาธารณะ ป่าสาธารณะ แหล่งน้ำสาธารณะ ถนนสาธารณะ สถานที่ราชการ สถานที่ส่วนรวม มีสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น สะอาดสวยงามน่าอยู่ และมีความปลอดภัย
2. เพื่อให้คนในตำบลหนองบัวเกิดความช่วยเหลือเชื่อมโยงกันในทุกมิติ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา ศาสนา และการสาธารณสุข มีจิตสำนึกการรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบของการอยู่ร่วมกัน
3. เพื่อให้ชุมชนมีความสามัคคีมีความรักต่อกันในครอบครัวและชุมชน ให้ความสำคัญกับ “คนทุกวัย”
4. เพื่อให้คนในตำบล ในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนาในเชิงจิตอาสาร่วมกัน
5. เพื่อถ่ายทอดความรู้การเป็นจิตอาสาให้กับกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เพื่อให้ชุมชนเกิดจิตอาสา และสร้างทีมผู้นำเยาวชนให้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด เชื่อมโยงดูแลกันในชุมชนสู่คนทุกกลุ่มวัย เกิดการช่วยเหลือกันและสร้างพลังในชุมชน นำไปสู่ “หนองบัว ๑ เดียว” |
|
เครื่องมือ : |
SWOT ANALYSIS
Focus Groups
Process
Empowerment |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมวางแผนร่วมกันและนำแผนไปปฏิบัติทันที เดือนละ ๑ ครั้ง
2. รับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
3. ร่วมวางแผนแก้ไขจุดอ่อนของหมู่บ้านด้วยวิธีที่ง่าย ประหยัด และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ประชาสัมพันธ์กลุ่มและรับสมัครด้วยความเต็มใจอย่างต่อเนื่อง
5. ขยายเครือข่ายสู่กลุ่มวัยต่างๆในชุมชน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|