|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ นอกสถานที่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ |
ผู้แต่ง : |
สมพงษ์ จันบุตราช |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ด้วยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๒ และอาศัยอำนาจตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจ่ายเงินเบี้ยความพิการ ให้คนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ให้ผู้ที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ในปีงบประมาณถัดไป และให้ผู้พิการ มาลงทะเบียน และยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ สำนักงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด และ หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท ๐๘๙๑.๓/๑๑๘ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๖ ความว่าให้ดำเนินการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในวันที่ ๑๐ ของเดือนนั้น ไม่ใช่เป็นการจ่ายเงินในเวลาสิ้นเดือนหรือจ่ายตอนเดือนถัดไป และให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเร่งรัดการจ่ายให้เป็นไปตามกำหนดเวลา โดยการจ่ายเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจ
ตามความข้างต้นการจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ ตามนโยบายของรัฐบาลต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้รวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส และบริการให้ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด ส่วนสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลหัวหินจึงได้จัดทำโครงการรับขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ และจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ นอกสถานที่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ เพื่อลดขั้นตอนการติดต่อราชการของประชาชน ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบริการของหน่วยงาน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในปีที่ผ่านมา พบว่าแต่ละหมู่บ้านมีผู้สูงอายุ ผู้พิการจำนวนมาก และมักจะมานั่งรอคิวรับเงิน โดยในการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อละรายใช้เวลาเก็บเอกสารการลงชื่อรับเงิน ประมาณ ๑ นาที โดยเฉลี่ยใช้เวลาจ่ายเงินหมู่บ้านละ ๒ ชั่วโมง และระหว่างนั่งรอรับเงินผู้สูงอายุ ผู้พิการจะมีเวลาว่าง โดยที่พบเห็นจะนั่งจับกลุ่มพูดคุยเรื่องสุขภาพ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ความถดถอยของร่างกาย และเรื่องอื่นๆ จึงเป็นที่มาของการคิดนวัตกรรมภายใต้ สโลแกน ที่ว่า “ยิ้มก่อนจ่าย สุขภาพดีก่อนรับ ได้เงินได้สุขภาพ ชีวามีสุข” โดยการนำนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มาใช้เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการได้ออกกำลังกายระหว่างนั่งรอรับเบี้ยยังชีพ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
๒. เพื่อนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์เป็นเครื่องออกกำลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ มีกิจกรรมทำระหว่างการรอรับเงินเบี้ยยังชีพ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนในเขตตำบลหัวหิน |
|
เครื่องมือ : |
- |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การดำเนินงานตามนวัตกรรมโครงการรับขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ และจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ นอกสถานที่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ภายใต้ สโลแกน ที่ว่า “ยิ้มก่อนจ่าย สุขภาพดีก่อนรับ ได้เงินได้สุขภาพ ชีวามีสุข ”
๑. ขั้นตอนการทำงาน “ยิ้มก่อนจ่าย”
๑.๑ การจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมก่อนการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ โดยจัดหารโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อรอรับบริการ
๑.๒ การจัดเตรียมเอกสารการรับเงินเบี้ยยังชีพ เอกสารมอบอำนาจ และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นให้พร้อมใช้งานและมีเพียงพอต่อการบริการ
๑.๓ การกล่าวสวัสดี ทักท้าย พูดคุยสุภาพ กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ที่มารอรับบริการ ไม่ใช้คำพูดที่กระทบจิตใจ หรือคำพูดที่ฟังแล้วทำให้ไม่สบายใจ
๑.๔ การให้บริการที่เป็นมิตร มีคำแนะนำขั้นตอนการขอรับเงินเบี้ยยังชีพ ขั้นตอนการมอบอำนาจของผู้รับแทน
๒. ขั้นตอนการทำงาน “สุขภาพดีก่อนรับ”
๒.๑ การนำเอานวัตกรรมเพื่อสุขภาพมาให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ใช้ออกกำลังกายช่วงระหว่างรอรับเงินเบี้ยยังชีพ
๒.๒ ประสานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตรวจสุขภาพ วัดความดัน ตรวจน้ำตาลในเลือด ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ช่วงระหว่างรอรับเงินเบี้ยยังชีพ
๓. ขั้นตอนการทำงาน “ได้เงินได้สุขภาพ ชีวามีสุข”
๓.๑ การจ่ายเงินต้องจ่ายด้วยความสุภาพ พูดคุยเล็กน้อยถามถึงความเป็นอยู่ สุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ เกิดความรู้สึกว่าเป็นมิตร และรักเหมือนลูกเหมือนหลาน
๓.๒ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ต้องนับจำนวนเงินให้ครบถ้วน ก่อนมอบให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ตรวจนับจำนวนเงินให้ครบก่อน และค่อยจ่ายรายต่อไป
วิธีการใช้นวัตกรรม
ความหมาย “นวัตกรรม ” มีนักวิชาการหลายท่านที่ให้ความหมายของคำว่านวัตกรรม มากมาย ในแต่ละความหมายมีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น การพัฒนา ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
/ไชยยศ........
-๓-
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (๒๕๒๑ : ๑๔) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
โดยสรุปแล้ว นวัตกรรม หมายถึง ความคิด สิ่งประดิษฐ์ และการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำ หรือคิดค้นมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หรือทำให้งานนั้นลุล่วงสำเร็จ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
การนำนวัตกรรมมาใช้ควบคู่กับงานประจำที่ดำเนินการ สามารถส่งผลให้งานประจำหรืองานหลัก สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย และยังสามารถที่จะเพิ่มประโยชน์ในเรื่องอื่นได้ในคราวเดียวกัน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
๑. ผู้สูงอายุ ผู้พิการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
๒. เกิดการนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์เป็นเครื่องออกกำลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
๓. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ มีกิจกรรมทำระหว่างการรอรับเงินเบี้ยยังชีพ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
- สามารถนำมาขยายผลให้แก่ชุมชนหรือหมู่บ้านอื่นต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|