|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ของทารกแรกเกิด อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นางวิภาวดี เลิศเจตนารมณ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
3.1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา
จากการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิดของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์โดยการตรวจระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรกเกิดที่มีอายุมากกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน ที่คลอดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ของปีงบประมาณ 2557, 2558 และ2559 (ระหว่าง ตุลาคม - กันยายน) พบว่า ทารกแรกเกิดที่มีระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์มากกว่า 11.2 มิลลิยูนิตต่อลิตรในซีรั่ม ร้อยละ 5.63, 5.73 และ 7.02 ตามลำดับ จึงเป็นดัชนีบ่งชี้ว่าอำเภอเมืองกาฬสินธุ์มีแนวโน้มภาวะขาดสารไอโอดีนในที่หญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด ประกอบกับที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาถึงความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาภาวะขาดสารไอโอดีนในพื้นที่และส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่จะทำการศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรกเกิดในอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้ศึกษาได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่าส่วนใหญ่ตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์มากสุด ที่สามารถใช้ในการทำนายและอธิบายพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน การรับรู้ความรุนแรงของขาดสารไอโอดีน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงใช้เพียง 4 องค์ประกอบ มาใช้ในการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้
|
|
วัตถุประสงค์ : |
3.2) วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรกเกิด
2. เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อภาวะขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ การรับรู้ต่อภาวะขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรกเกิด
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากร คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์และทารกแรกเกิดของหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 จำนวน 1,023 คน โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1.1 เกณฑ์การคัดเข้า (Include criteria)
1.1.1 เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
1.1.2 มีชื่อและไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ที่อาศัยอยู่จริง ณ ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล
1.1.3 มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้
1.1.4 ยินดีเข้าร่วมโครงการวิจัย (ตอบแบบสัมภาษณ์)
1.2 เกณฑ์การคัดออก (Exclude criteria)
ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะดำเนินการศึกษาไม่สามารถเข้าร่วมได้ หรือเข้ามาแล้วไม่เต็มใจ ไม่อยากทำ เกิดการขัดข้องในกรณีใด ๆ ไม่ต้องขอร้อง ให้คัดออก
2. กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์ ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ทุกรายที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
|
|
เครื่องมือ : |
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ซึ่งมีรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลของสตรีที่ศึกษา ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ค่าภาวะโลหิตจาง(Hct) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. หาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระกับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรกเกิดด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Spearman’ correlation)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
3.4) ผลการศึกษา และสรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า ทารกแรกเกิดมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid stimulating hormone : TSH) มากกว่า 11.20 mU/L in serum ร้อยละ 5.43 จึงถือว่า อำเภอเมืองกาฬสินธุ์เป็นพื้นที่ที่มีความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีนระดับเล็กน้อย ระดับการรับรู้โดยรวมของหญิงตั้งครรภ์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อภาวะขาดสารไอโอดีน และแยกรายด้านเป็นการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการรับรู้โดยรวม การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับระดับไทรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|