ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุทธิดา กล้าแข็ง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นการเจ็บป่วยเรื่อรัง ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาและการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหรือโรคเบาหวานที่สำคัญคือ น้ำหนักเกินและอ้วน สถานการณ์การป่วยโรคเบาหวานระดับประเทศ พบว่า อัตราป่วยโรคเบาหวานในปี255๗ เท่ากับ968.22ต่อแสนประชากร ในปี 2558 เท่ากับ 1,050.05 ต่อแสนประชากร และในปี 2559 เท่ากับ 1,081.21ต่อแสนประชากร ส่วนข้อมูลระดับเขตบริการสาธารณสุขเขต 7 พบว่า อัตราป่วยโรคเบาหวานในปี 2554 เท่ากับ 1,316.66 ต่อแสนประชากร ในปี 2555 เท่ากับ 1,452.31ต่อแสนประชากร และในปี 2556 เท่ากับ 1,497.19 ต่อแสนประชากร ส่วนสถานการณในจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า อัตราป่วยโรคเบาหวานในปี 255๗ เท่ากับ 1,357.30 ต่อแสนประชากร ในปี 2558 เท่ากับ 1,491.44 ต่อแสนประชากร และในปี 2559 เท่ากับ 1,457.92 ต่อแสนประชากร (สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2559) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 306 คน (ข้อมูล เมษายน 2560) พบภาวะแทรกซ้อนซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานพบในเรื่องการขาดนัด การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง เช่น การกินยาไม่สม่ำเสมอ การปรับลดจำนวนยาเอง รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม น้อยหรือมากเกินไป ขาดการออกกาลังกาย ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือด ประกอบด้วย โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ พยาธิสภาพของไต พยาธิสภาพของตา (Retinopathy) โรคที่เกิดกับเท้า จากสถานการณ์ข้างต้น จะเห็นว่าแนวโน้มของโรคเบาหวานจะรุนแรงมากขึ้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งตัวผู้ป่วยเองขาดการตระหนักในการดูแลตนเองในด้านสุขภาพที่ถูกต้องพฤติกรรมการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีสุขภาพที่ดี การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานได้แก่การควบคุมอาหารด้วยการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ในปริมาณที่พอเหมาะกับภาวะโรค การออกกำลังกาย การรักษาด้วยยาอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ถูกหลักอนามัยจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติตลอดจนช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่างๆได้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้นและสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติสุข ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญรวมทั้งได้ทราบถึงพฤติกรรมที่ควรสนับสนุน หรือพฤติกรรมที่ควรปรับแก้ไข ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตประจาวัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาต่อที่ คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน ๘๐ คน (ข้อมูล ๑๗ มีนาคม 25๖๐)ดังนี้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวนผู้ป่วยทุกคนที่นัดมารักษาต่อเนื่องที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙ และวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐  
เครื่องมือ : การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ถาม เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส การศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่ป่วยด้วย โรคเบาหวาน น้ำหนัก และส่วนสูงจำนวน 8 ข้อ ส่วนที่ 2การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองชองผู้ป่วยเบาหวานเป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งแต่ละข้อคำถาม มีมาตรวัด 4 ระดับ คือ ทุกครั้ง บ่อย นาน ๆครั้ง ไม่เคย ประกอบด้วยข้อความที่เป็นเชิงบวกและเชิงลบ จำนวน 18 ข้อ ข้อความเชิงบวก 13 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1, 3, 6, 7, 8, 9, 11, 12, 13, 14, 15,16, และข้อ18 ข้อความเชิงลบ 5 ข้อ ได้แก่ ข้อ 2, 4, 5, 10 และ 17  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ผู้วิจัยเก็บทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้ 1.ผู้วิจัยชี้แจงวัตถุประสงค์และขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง 3.นำแบบสอบถามที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน เพื่อนำไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง