|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมของเกษตรกรในการกำจัดศัตรูพืชด้วยการใช้สารเคมี ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านตูม ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๖๐ |
ผู้แต่ง : |
ยุภาพร คำยศ
|
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในการรักษาและเพิ่มผลผลิตทาง เกษตรกรรม เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในระหว่างการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางการเมือง ด้วยเหตุนี้เกษตรกรของประเทศจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาวิธีการที่จะทำให้ผลผลิต ทางการเกษตรสูงขึ้นทุกวิถีทาง สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชจึงถูกเกษตรกรนำมาใช้โดยไม่จำกัดขอบเขต ทั้งในรูปของปริมาณการใช้การซื้อหาที่ทำได้อย่างเสรีการน าสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชมาใช้นั้น หากมีการใช้ อย่างไม่ถูกต้องแล้วจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ใช้ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆโดยพบว่ามีผู้ป่วยอันเกิดจากการแพ้ สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะเกษตรกร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตูม ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลเกษตรกรในชุมชน ใน ประชากรเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านตูม โดยการดำเนินงานในกิจกรรม การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยการประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจ คัดกรอง เพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรกป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาพฤติกรรมเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการปฏิบัติตัวในขณะทำงาน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1.ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชน กลุ่มอายุ 15-60 ปี ในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านตูม โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- ผ่านการคัดกรอง ตามแบบคัดกรองสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- ผู้มีผลการคัดกรองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีผลการตรวจไม่ปลอดภัย
|
|
เครื่องมือ : |
ชนิดและลักษณะเครื่องมือ การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขโดยผู้ศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ถามเพศ อายุ งานอาชีพหลัก
ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการปฏิบัติตัวในขณะทำงาน
ส่วนที่ 3 ผลการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินการ
2. ถ่ายทอดความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดูแล สุขภาพเกษตรกร
3.จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพเชิงรุก ประกอบด้วย
3.1 คัดกรองเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.2 เจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยง
3.3 สถานบริการสาธารณสุขให้สุขศึกษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในรายที่ผลการตรวจไม่ปลอดภัย ทั้งรายบุคคล/รายกลุ่ม
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|