ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในเขตตำบลหนองตอกแป้น ปี ๒๕๖๐
ผู้แต่ง : พิชญ์จิลักษณ์ เค้าแคน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ โรคมะเร็งของเซลล์ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยเฉพาะมะเร็งท่อน้ำดีจะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่ง เป็นแหล่งที่มีอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในโลก การศึกษาทางระบาดวิทยาและในสัตว์ทดลองแสดงว่าการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และป้องกันได้โดยการงดรับประทานปลาดิบจากแหล่งระบาด มะเร็งท่อน้ำดียังคงเป็นมะเร็งอันดับที่ 1 ที่คร่าชีวิตชาวอีสานในปัจจุบัน เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับ คาดว่ามีผู้ติดพยาธินี้ไม่ต่ำกว่า 9 ล้านคน พยาธิชนิดนี้มีความสำคัญกว่าพยาธิชนิดอื่นๆ ที่ระบาดในประเทศไทย เนื่องจากมีการพิสูจน์ชัดแล้วว่า การติดพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งท่อน้ำดี อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น การติดพยาธิใบไม้ตับช้ำๆ ความหนาแน่นของจำนวนพยาธิที่ติด ความแตกต่างทางพันธุกรรมของตัวพยาธิและของคนในชุมชนที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีมากขึ้น การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับก่อให้เกิดภาวะ การอักเสบแบบเรื้อรังในท่อน้ำดี มีการสร้างสารประกอบอนุมูลอิสระชนิดออกซิเจน และ ไนโตรเจน จำนวนมาก ทำให้เกิดการทำลาย ดีเอ็นเอ ขอบเซลล์เยื่อบุผิวท่อน้ำดี ซึ่งเป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของยีน และเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี โดยสามารถตรวจระดับของเบส บน ดีเอ็นเอ ที่ถูกเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การทำลายดีเอ็นเอ จากอนุมูลอิสระของออกซิเจนและไนโตรเจนตามลำดับ ซึ่งมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุกสูงที่สุดในประเทศไทย และมีแนวโน้มสูงขึ้นครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยในระยะสุดท้าย ยังผลให้มีอัตรารอดชีพต่ำมาก อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งมักพบในประชาชนที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปี ระดับความรุนแรงของโรคมะเร็งตับที่พบ คือ ระยะสุดท้าย (Stage ๔) ในเพศชายพบร้อยละ ๒๕ และในเพศหญิงพบร้อยละ ๒๐ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี คือ การติดพยาธิใบไม้ตับ จากพฤติกรรมการบริโภคปลาน้ำจืดดิบๆ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสาร Nitrosamine เช่น ปลาร้า แหนม กุนเชียง นอกจากนี้ยังพบว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นในเทศกาลงานบุญยังเป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดมะเร็งตับ โดยจากการศึกษา ในปี พ.ศ.2557 และ ปี พ.ศ.2558พบว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดกาฬสินธุ์ ความชุก เท่ากับ ร้อยละ 22 และ ร้อยละ 15.02 จากการศึกษาสาเหตุการตายย้อนหลัง ๕ ปี ของประชากรตำบลหนองตอกแป้น พบว่า ในปี ๒๕55 – ๒๕๕9 มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ ตามลำดับดังนี้ 0.69, 1.39, 1.29, 1.62, 0.86 ต่อประชากรพันคน ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของตำบลหนองตอกแป้น จากสถานการณ์ดังกล่าว จึง ได้ให้ความสำคัญเป็นปัญหาสาธารณสุขลำดับที่ ๑ ของตำบล จึงได้จัดทำ: โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี ๒๕๖๐  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในประชาชนกลุ่มอายุ ๔๐ ปี ขึ้นไป ๒. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในการเกิดพยาธิใบไม้ตับ 3. เพื่อสร้างความรู้และทัศนคติแก่ประชาชนทั่วไปให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุม ป้องกัน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนอายุ 40 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ที่ บ้านหนองบัวน้อย หมู่ 3 ตำบลหนองตอกแป้น  
เครื่องมือ : : แบบประเมินความความรู้ : เอกสารสรุปโครงผลการดำเนินงานโครงการ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑. จัดทำคำสั่ง/คณะทำงาน ทีม SRRT ระดับตำบลประจำปีงบ ๒๕60 ๒ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ระดับ ชุมชน ( ในสุขศาลาทุกแห่ง )ประกอบด้วย ๑.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ๒. ฝ่ายคัดกรองค้นหา ในกลุ่มเสี่ยง ๓. ฝ่ายติดตามการควบคุมการรักษา 4. อบรมฟื้นฟูทีม SRRT ตำบล เพื่อให้มีความรู้ในการคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพ จัดเตรียมความพร้อม วัสดุ/อุปกรณ์ งบประมาณ ในการป้องกันและควบคุมโรค 5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสตื่นตัว ในการป้องกัน รักษา โรคพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในทุกหมู่บ้าน 6. เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์/ยา/เวชภัณฑ์ ในการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ 7. ส่งบุคลากร ฟื้นฟูจุลทรรศน์นากร 8. คัดกรองกลุ่มเสี่ยงอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปโดยใช้ Verbal Screen และตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง 9. ให้การรักษาสำหรับรายที่ตรวจพบทุกราย หากพบไข่พยาธิใบไม้ส่งต่อเข้ารับการตรวจ Ultrasound 10. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มเสี่ยง อายุ 40 ปีขึ้นไป 11. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง