ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดการปัญหายาอันตรายในร้านชำแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : กฤษฎา บุษบารัตน์ , มยุเรศ ฤทธิ์ทรงเมือง ,จักรพันธ์ ปัญญา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบัน การจำหน่ายยาที่นอกเหนือจากยาสามัญประจำบ้านในร้านชำภายในชุมชนยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในร้านชำที่เปิดใหม่นอกจากมีการจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคแล้วยังมีการจำหน่ายยาร่วมด้วย สำหรับร้านชำที่เปิดขายอยู่เดิมมักหารายการยามาเพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากผู้ประกอบกิจการร้านชำส่วนมากมิใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านยา ดังนั้นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลมีโอกาสเกิดได้ค่อนข้างมาก องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความของ “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug USE)” คือ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด (WHO, 1987) จากคู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ๒๕๕๒ ให้คำจำกัดความ “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล” คือ การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีคุณภาพ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ ให้มีประโยชน์ทางคลินิกเหนือกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มีราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ไม่เป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา เป็นการใช้ยาในกรอบบัญชียายังผลอย่างเป็นขั้นตอนตามแนวทางพิจารณาการใช้ยา โดยใช้ยาในขนาดที่พอเหมาะกับผู้รับบริการในแต่ละกรณี ด้วยวิธีการให้ยาและความถี่ในการให้ยาให้ถูกต้องตามหลักเภสัชวิทยาคลินิก ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ผู้รับบริการให้การยอมรับและสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อว่าหากเจ็บป่วยต้องรับประทานยา ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด มีร้านชำจำหน่ายยานอกเหนือจากยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 25 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 83.33 จากจำนวนร้านชำที่สำรวจทั้งหมด 30 ร้าน ร้านชำถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกอีกช่องทางหนึ่ง ร้านขายของชำจำนวนไม่น้อยจึงมีการจำหน่ายยาอันตรายร่วมกับยาสามัญประจำบ้าน ประกอบกับผู้ประกอบกิจการร้านชำส่วนมากมิใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านยา จึงมีแนวโน้มส่งผลให้เกิดการใช้ยาไม่สมเหตุผล ดังนั้นการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำ นอกจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังผิดกฎหมายอีกด้วย การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ผู้วิจัยได้เลือกประยุกต์เอาแนวคิดระบบสุขภาพอำเภอ District Health System : DHS คือการทำงานสุขภาพโดยใช้อำเภอเป็นฐาน มองทุกส่วนในอำเภอเป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนราชการสาธารณสุข หน่วยงานต่างๆในอำเภอ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคีภาคประชาชน โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งอำเภอ ส่งเสริมการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ผสมผสานงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู เข้าด้วยกันในบริบทของสังคมในพื้นที่เป็นองค์รวม ต่อเนื่อง และ บุคคล ครอบครัว ชุมชม พึ่งตนเองได้ในการดูแลตนเองด้านสุขภาพ และชุมชนเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืนมีความสำคัญและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องของธนพงศ์ ภูผาลี (2556) ศึกษารูปแบบการพัฒนาร้านชำแบบชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโพนสูง จังหวัดสกลนคร พบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่มาจากชุมชนและมีการพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชน นำไปสู่การเป็นร้านชำปลอดยาอันตราย ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดการปัญหายาอันตรายในร้านชำแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชนหัวนาคำและเพื่อเป็นต้นแบบร้านชำปลอดภัยสำหรับชุมชนอื่นๆต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อจัดการปัญหายาอันตรายในร้านขายของชำโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อเป็นตำบลต้นแบบร้านชำปลอดภัย(ถูกกฎหมาย ผู้ป่วยปลอดภัย เราปลอดภัย)  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้ประกอบการร้านชำที่จำหน่ายยาอันตราย จำนวน 25 คน  
เครื่องมือ : แบบประเมินมาตรฐานร้านชำ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Planning) 1.1 ประชุมชี้แจงแต่งตั้งคณะทำงานภาคีเครือข่ายระดับตำบล 1.2 สำรวจข้อมูลและขึ้นทะเบียนร้านชำที่จำหน่ายยาอันตราย ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (Do) 2.1 พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำ 2.2 จัดตั้งชมรมผู้ประกอบร้านชำปลอดภัย(ถูกกฎหมาย ผู้ป่วยปลอดภัย เราปลอดภัย) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล (Check) 3.1 ติดตามประเมินผลร้านชำปลอดภัยโดยคณะทำงานภาคีเครือข่ายตำบลและชมรมผู้ประกอบการ(เพื่อนช่วยเพื่อน) 3.2 สรุปผล ขั้นตอนที่ 4 (Action) 4.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันกับผู้ประกอบการ 4.2 ประกาศเกียรติคุณ มอบป้ายร้านชำปลอดภัย  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ