|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : กระบวนการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายในชุมชน ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นายอาคม อักษรศักดิ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่เป็น ปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(denguevirus) มียุงลายบ้าน Aedes aegypti เป็นพาหะหลัก และยุงลาย สวน Aedes albopictus เป็นพาหะรอง การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ได้ให้ความสำคัญกับ มาตรการควบคุมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีการประยุกต์ใช้หลากหลายกลวิธีในการรณรงค์ได้แก่ การใช้ทรายอเบท ปลากินลูกน้ำ การรณรงค์ให้ถ่ายเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน การเก็บทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ในชุมชน โดยมีรูปแบบการรณรงค์ที่หลากหลายในปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษากระบวนการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายในชุมชนและประเมินความพึงพอใจของประชาชน เพื่อใช้ในการกำหนดแนวทางดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของตำบลบ่อแก้วในปีต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายในชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ชุมชนบ้านนางามจำนวน 3 หมู่บ้าน 356 หลังคาเรือน |
|
เครื่องมือ : |
1.แบบสอบถามเกี่ยวกับการกำจัดลูกน้ำยุงลายรายหลังคาเรือน
2.แบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
3.แบบสำรวจค่าลูกน้ำยุงลาย
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
รูปแบบการศึกษา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและวางแนวทางการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายในชุมชน
ระยะที่ 2 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
ระยะที่ 3 ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ
ระยะที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการกำจัดลูกน้ำยุงลายอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 24.5±3.3) มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ระดับน้อย (คะแนนเฉลี่ย 7.4±4.4) ผู้วิจัยใช้กระบวนการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม เพื่อค้นหามาตรการ แนวทางการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่และการประสานงาน ในการดำเนินงานกำจัดลูกน้ำยุงลายร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน ได้กิจกรรมหลักคือ การให้ความรู้เป็นรายคุ้ม,กำหนดให้ทุกวันอาทิตย์เป็นวันรณรงค์ของหมู่บ้าน,ผู้นำชุมชนร่วมกับ อสม.ติดตามประเมินทุกสัปดาห์โดยใช้แผนที่ชุมชนเป็นตัว กำกับและติดตามประเมินผลและผู้นำชุมชนเป็นผู้สะท้อนผลการประเมินลูกน้ำรายครัวเรือนให้กับชุมชนทราบทุกเดือน หลังดำเนินการ พบว่า ประชาชนมีความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการการกำจัดลูกน้ำยุงลายดีขึ้นกว่าก่อนดำเนินการ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (คะแนนเฉลี่ย 85.8±1.0; p<0.001),(คะแนนเฉลี่ย 75.8±1.0; p<0.001) ตามลำดับ ส่วนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านการวางแผน การดำเนินงาน การประเมินผลอยู่ในระดับดี |
|
ข้อเสนอแนะ : |
รูปแบบกระบวนการ 5 กิจกรรมหลัก ทำให้ประชาชนมีความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนดีเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|