ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ศูนย์เรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง
ผู้แต่ง : นาถนรินทร์ ทรัพย์กุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, วัชภูมิ ทองใบ นักโภชนาการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากข้อมูลการสำรวจภาวะสุขภาพของบุคลากร ปี 2558 (คลินิก DPAC) พบว่าบุคลากรส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายระดับท้วมและอ้วน คิดเป็นร้อยละ 21.58 และ 25.26 ตามลำดับ มีรอบเอวเกินมาตรฐานและอ้วนลงพุง คิดเป็นร้อยละ 30.65 โรงพยาบาลคำม่วงจึงมีความมุ่งหวังให้คนในองค์กรเป็นแกนหลักในการสนับสนุนให้ตนเองมีพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส. สามารถควบคุมน้ำหนักตนเองไม่ไห้มีภาวะน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นแบบอย่างของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมทั้งเป็นองค์กรต้นแบบไร้พุง  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีรอบเอวหรือดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2. เพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพองค์กรต้นแบบไร้พุง  
กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรในโรงพยาบาลคำม่วง และ คปสอ.คำม่วง-สามชัย  
เครื่องมือ : 1.ศูนย์เรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง 2.แบบสำรวจของกรมอนามัย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรในโรงพยาบาลคำม่วง และ คปสอ.คำม่วง-สามชัย สำรวจภาวะสุขภาพของบุคลากรโดยการตรวจประเมินระดับดัชนีมวลกาย รอบเอว และพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้แบบสำรวจของกรมอนามัยก่อนและหลังดำเนินการ นำเสนอผลการประเมินภาวะสุขภาพของบุคลากร ให้บุคลากรผู้บริหารได้รับทราบและประกาศนโยบายองค์กรไร้พุงให้ทราบทั่วทั้งองค์กร จัดกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง ส่งต่อทีม DPAC ให้การปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. เช่น ด้านอาหาร อบรมความรู้ด้านการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ด้านการออกกำลำลังกายและอารมณ์ อบรมแพทย์ทางเลือกสมาธิบำบัด (SKT) แก่บุคลากร ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายตามความถัด โดยกำหนดให้แต่ละบุคคลต้องมีชมรมออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชมรม บุคลากรที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต สูบบุหรี่ หรือสุรา ส่งต่อสุขภาพจิตและคลินิกเลิกบุหรี่/สุรา กระตุ้นการดำเนินงานเป็นหน่วยงาน คัดเลือกหน่วยงานและบุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพให้รางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจ ขยายองค์กรไร้พุงหน่วยงานราชการอื่น เช่น หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้านในอำเภอคำม่วง การติดตามประเมินผลสำรวจภาวะสุขภาพของบุคลากรก่อนและหลังดำเนินการ  
     
ผลการศึกษา : เปรียบเทียบระดับดัชนีมวลกายก่อนและหลังดำเนินการพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีระดับดัชนีมวลกายลดลงร้อยละ 40.16 ระดับรอบเอวก่อนและหลังดำเนินการพบว่า ระดับรอบเอวลดลง ร้อยละ 39.0 ด้านพฤติกรรม บุคลากรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพระดับดีปานกลาง มีการสร้างเครือข่ายสุขภาพองค์กรต้นแบบไร้พุงในระดับหัวหน้าส่วนราชการ และผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน (กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน)  
ข้อเสนอแนะ : จากการดำเนินงานพบว่ามีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก มีการกระตุ้นติดตามเป็นหน่วยงานโดยกำหนดเป็น KPI ของหน่วยงาน ทำให้บุคลากรมีการกระตุ้นช่วยเหลือ ควบคุมภายในหน่วยงานของตนเองส่งผลให้มีการปรับพฤติกรรมที่ดีขึ้น ส่วนภาคีเครือข่ายในระดับหัวหน้าส่วนราชการ และผู้นำชุมชน ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในหน่วยงานของตนเอง และในชุมชน จึงทำให้ได้รับความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายสุขภาพองค์กรต้นแบบไร้พุงในพื้นที่เป็นอย่างดี  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ