ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคเบาหวานด้วยตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน
ผู้แต่ง : นายเนมิราช จิตรปรีดา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหา เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของคนไทย สาเหตุการเกิดโรคมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการที่จะพยายามหาทางป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือ การได้ผลที่คุ้มค่า ตรงกับความต้องการ และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนจากพฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยมุ่งที่จะศึกษาในประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนคัดกรองของ รพสต.บ้านหว้านพัฒนา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติกับการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนคัดกรองของ รพสต.บ้านหว้านพัฒนา ปี 2559 จำนวน 104 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้ศึกษาได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากคุณสมบัติประชากรเป้าหมายมีจำนวน 563 คน ซึ่งคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตร บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2551, หน้า 114) ที่มีความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 83 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ชนิดและลักษณะเครื่องมือ การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : รูปแบบการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย (Descriptive Research) แบบการศึกษา ณ จุดเวลา (Cross-Sectional Studies) เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเองและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงวิเคราะห์ Chi-squareและ Correlation Coefficient โดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง