ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม น้อมนำความพอเพียง 2560
ผู้แต่ง : สุจิรา นาถมทอง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : เครือข่ายการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ พัฒนาระบบสุขภาพบริการกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง ให้ได้รับการบริการและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตาม หลัก 3 อ. เพื่อสร้างความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพให้กับประชาชนและใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการทำงานให้เกิดชุมชนลดเสี่ยงลดโรค ลดภัยสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านสุขภาพที่เหมาะสมต่อไปด้วยหลักแพทย์วิธีธรรม ยา 9 เม็ด  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้มีหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีวิถีธรรม จำนวน 1 หมู่บ้าน 2. เพื่อจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ระดับตำบล ระยะเวลา 3 วัน จำนวน 1 ค่าย 3. เพื่อให้มีอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) ทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านต้นแบบ ร้อยละ 50 ของหลังคาเรือนทั้งตำบล 4. เพื่อให้ผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ระดับตำบล จำนวน 300 คน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ระดับตำบล จำนวน 300 คน  
เครื่องมือ : แบบประเมิน แบบบันทึก แบบสอบถาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ประชุมคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ร่วมกับคณะกรรมการบูรณาการระดับตำบล คณะกรรมการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เพื่อคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีวิถีธรรม ประจำตำบล จำนวน 1 หมู่บ้านพร้อมระดมสมองกำหนดทิศทางด้านสุขภาพตามแนวทางหมอครอบครัว อาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) และการจัดการสุขภาพชุมชน การจัดการสุขภาพกลุ่มวัย มุ่งสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ 2. เสนอโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม ต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบลและติดตามการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 3. สำรวจ จัดทำทะเบียนประชาชนในตำบล และเน้นหนักหมู่บ้านต้นแบบ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงานการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรื้อรัง โดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยพร้อมจัดระบบการดำเนินงานอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว(อสค.) 4. คัดเลือก รับสมัครกลุ่มเป้าหมายในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรื้อรังทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสูตรสุขภาพดี วิถีธรรม ระดับตำบล ระยะเวลา 3 วัน โดยจัดให้มีอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.)อย่างน้อยร้อยละ 50 ของหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบของสถานบริการ 5. ใช้สุขศาลาเป็นศูนย์กลางประสานงานของ รพ.สต. อสม. และอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.)สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านค่ายฯในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามแนวทางสุขภาพดี วิถีธรรม โดยมีการประเมินพฤติกรรม และสุขภาวะ ตามเครื่องมือที่กำหนด 6. คณะกรรมการบูรณาการตำบล อำเภอ ติดตามประเมินหมู่บ้านสุขภาพดี วิถีธรรม และรับการประเมินรับรอง จากคณะกรรมการประเมินหมู่บ้านสุขภาพดี วิถีธรรม 7. ร่วมมหกรรมหมู่บ้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สุขภาพดี วิถีธรรม  
     
ผลการศึกษา : 1. มีหมู่บ้านต้นแบบสามารถจัดกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลักสูตรสุขภาพดี วิถีธรรม 2. ประชาชนในตำบลสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ โดยมีอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.)ร่วมดูแล และเป็นที่ปรึกษา 3. ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ส่งผลให้ลดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง