ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : มาตรการ 5ป. 1ข. พร้อมกันทุกวันศุกร์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลหนองอิเฒ่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อัญชิษฐา,มูลศรี ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือกออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการ เกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี โรคไข้เลือดออกเป็นโรคคิดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมา ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์การเพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้อง เตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป พื้นที่มีเชื้อไวรัสแดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือกออกด้วย จากรายงานโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 สสจ.กาฬสินธุ์ ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออกรวม(26,27,66) จำนวนทั้งสิ้น 137 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 13.26 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตพบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิงโดยพบเพศชาย 74 ราย เพศหญิง 63ราย อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง เท่ากับ 1.17 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 39 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี,5 - 9 ปี,25 - 34 ปี,55 - 64 ปี, 35 - 44 ปี, 45 - 54 ปี,65 ปี ขึ้นไป และ 0 - 4 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 34,26,14,6,6, 5, 4 และ 3 ราย ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 91 ราย พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน มกราคมจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 57 ราย จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้( มีนาคม ) มากกว่าเดือนที่แล้ว (กุมภาพันธ์) จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้ ( มีนาคม ) เท่ากับ 45 ส่วนเดือนที่แล้ว (กุมภาพันธ์ ) เท่ากับ 35 ราย โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน มกราคม 57 ราย กุมภาพันธ์ 35 ราย มีนาคม 45 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอ คำม่วง อัตราป่วยเท่ากับ 42.79 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอสมเด็จ, อำเภอฆ้องชัย ตามลำดับ (รายงานโรคไข้เลือดออก จังหวัดกาฬสินธุ์) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองอิเฒ่า จึงได้จัดให้มีการประชาคมทุกหมู่บ้านในตำบลและมีแนวคิดและทิศทางในการดำเนินงานสาธารณสุขที่มุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันและลดผลกระทบจากภัยคุกคาม โดยใช้มาตรการ 5ป. 1ข.พร้อมกันทุกวันศุกร์ และนำผลของการประชาคมไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในการวางแผน ปรับปรุง และดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคและควบคุมไข้เลือดออก 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง 3.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน 4.เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ประชาชนหนองอิเฒ่า 2. หลังคาเรือน จำนวน 1,178 หลังคาเรือน  
เครื่องมือ : เครื่องมือในการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบสำรวจความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกันโรคเบื้องต้นประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพของครอบครัว ประสบการณ์การป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และแหล่งการได้รับข้อมูลเรื่องไข้เลือดออก ส่วนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นข้อความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก สาเหตุการเกิดโรค การดูแลเบื้องต้น ส่วนที่ 3 คำถามปลายเปิดให้เสนอวิธีป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกที่ได้ผล ชุดที่ 2 คือแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำ เป็นคำถามตามกรอบคิดของระบบการเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพของครอบครัว ประสบการณ์การป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และแหล่งการได้รับข้อมูลเรื่องไข้เลือดออก ส่วนที่ 2 เป็นคำถามปลายเปิดให้ตอบเกี่ยวกับความสำคัญของการสำรวจดัชนีลูกน้ำ การสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ การดำเนินการเมื่อพบแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การนำข้อมูลไปใช้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงเป้าหมายการดำเนินงานผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเพื่อ 3.ร่วมการเดินรณรงค์ อสม ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่รพสต บ้านหนองอิเฒ่า 4.ประกวดหมู่บ้านต้นแบบ บ้านสะอาดปราศจากแหล่งลูกน้ำยุงลาย 5.กรรมการตัดสินบ้านที่สะอาด ปราศจากแหล่งลูกน้ำยุงลาย พร้อมให้รางวัล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง