ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การบริหารโลหิตอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้แต่ง : ยรรยงค์ ไชยขันธ์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โลหิตมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยปัจจุบันความต้องการใช้โลหิตเพิ่มมากขึ้นแต่การจัดหาโลหิตบริจาคยังมีปริมาณไม่เพียงพอและไม่สม่ำเสมอตลอดปีบางช่วงมีปริมาณโลหิตสำรองไม่เพียงพอทำให้ผู้ป่วยบางรายต้องเลื่อนการผ่าตัดในขณะที่บางช่วงมีปริมาณโลหิตสำรองมากเกินความต้องการของผู้ป่วยทำให้มีปริมาณโลหิตหมดอายุจำนวนมากขึ้นและโรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วยจึงยากต่อการสำรองโลหิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการใช้ของผู้ป่วยในแต่ละเดือน หน้าที่หลักของธนาคารเลือดคือการจัดหาและเตรียมโลหิตที่ปลอดภัยและเพียงพอสำหรับผู้ป่วยทั้งในสถานการณ์ปกติทั่วไปและในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นอุบัติเหตุหมู่หรือเกิดวินาศภัยต่างๆ จากผลการดำเนินงานในปี 2558 พบว่า มีอัตราการขอเลือดโลหิตที่ไม่มีจ่าย ร้อยละ 0 และมีเลือดหมดอายุ รวม 16 ยูนิต ซึ่งเดือนธันวาคม พบเลือดหมดอายุมากที่สุด 14 ยูนิต ดังนั้นธนาคารเลือดจึงต้องกำหนดนโยบายในการจัดหาโลหิต กำหนดปริมาณโลหิตและส่วนประกอบของโลหิตสำรองที่เหมาะสมกับความต้องการใช้จริงของผู้ป่วยเพื่อลดการสำรองโลหิตมากเกินความจำเป็นและลดปริมาณโลหิตหมดอายุให้น้อยที่สุด  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้มีจำนวนโลหิตที่เพียงพอต่อความต้องการ 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการไม่ให้มีโลหิตหมดอายุ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่มารับบริการที่คลังเลือด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 31 มีนาคม 2559 คน  
เครื่องมือ : แบบเก็บข้อมูล  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.การสำรองโลหิต - กำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบจำนวนโลหิตสำรองในคลังเลือดทุกวัน - ถ้าปริมาณโลหิตสำรองในคลังเลือดแต่ละหมู่น้อยกว่า 10 ยูนิต ให้โทรศัพท์ประสานขอโลหิตจากภาคบริการโลหิตที่ 6 ขอนแก่น - ขอรับบริจาคโลหิตจากส่วนราชการต่างๆและบุคคลทั่วไป - เมื่อไม่มีโลหิตให้กับผู้ป่วย - กรณีฉุกเฉินติดต่อประสานขอโลหิตจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์หรือโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที - กรณีรอได้ติดต่อประสานขอโลหิตจากภาคบริการโลหิตที่ 6 ขอนแก่นหรือโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ในเวลาราชการ - เขียนรายงานอุบัติการณ์เมื่อไม่มีโลหิตให้กับผู้ป่วย 2. การตรวจสอบและป้องกันเลือดหมดอายุ - กำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบจำนวนโลหิตสำรอง ในคลังเลือดทุกวัน เมื่อผู้รับผิดชอบตรวจสอบวันหมดอายุไม่อยู่ ต้องมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบแทน - การจัดวางโลหิตจะต้องเรียงจากวันหมดอายุก่อนไปหลัง - ตรวจสอบวันหมดอายุ ก่อน Expire 7วันเพื่อเเลกเปลี่ยนโลหิตกับ รพ.กาฬสินธุ์และ รพ.กุฉินารายณ์ - เพิ่มการตรวจสอบโลหิตเพื่อนำไปแลกกับ รพ.กาฬสินธุ์และ รพ.กุฉินารายณ์ก่อนวันกำหนด  
     
ผลการศึกษา : อัตราการขอโลหิตที่ไม่มีจ่ายเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 0 เป็น 0.3 (หมู่โอ 1 ยูนิต) เนื่องจากในช่วงระยะนั้น มีการขอใช้หมู่โอพร้อมกันจำนวนมาก และเป็นภาวะที่เลือดหมู่โอขาดแคลนทั้งจังหวัด และการเบิกโลหิตจากภาคบริการจะเบิกได้สัปดาห์ละครั้ง ทำให้ไม่สามารถจัดหาเลือดหมู่โอได้ทันเวลา โลหิตหมู่เอ หมดอายุเนื่องจาก - เดือน ตุลาคม 2558 ผู้รับผิดชอบหลักไม่อยู่ โดยไม่ได้มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ ตรวจสอบวันหมดอายุแทน - เดือน กุมภาพันธุ์ 2559 มีการสลับถุงโลหิตที่หมดอายุก่อนไปอยู่ด้านหลัง การตรวจสอบไม่ทั่วถึง สามารถลดจำนวนโลหิตหมดอายุลงจาก ปีงบประมาณ 2558 หมดอายุ 16 ยูนิต เหลือ 2 ยูนิต ในปีงบประมาณ 2559 (6เดือนแรก)  
ข้อเสนอแนะ : 1. มีการนำอัตราการเตรียมโลหิตให้ผู้ป่วยต่อการใช้โลหิต (Crossmatch/ Tranfusionratio: C/T ratio) มาใช้ เพื่อประเมินหาอัตราการสำรองโลหิตที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน C/Tratio ของผลิตภัณฑ์เม็ดเลือดแดงต้องไม่เกิน 2.01 ถ้าค่าสูงแสดงว่ามีการสำรองเลือดมากแต่การใช้เลือดน้อย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดหาและเก็บโลหิต มีโลหิตหมดอายุเพิ่มขึ้น 2. มีการสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการเรื่องโลหิตกับโรงพยาบาลอื่นๆที่นอกเหนือจาก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ 3. การตรวจสอบปริมาณโลหิตสำรองควรมีการตรวจนับจำนวนโลหิตสำรองคงคลังที่บ่อยครั้ง รวดเร็วแม่นยำและต้องมีแผนรองรับกรณีโลหิตสำรองคงคลังมีจำนวนลดลงน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อควบคุมให้มีปริมาณเลือดสำรองคงคลังที่เหมาะสม ป้องกันภาวะขาดแคลนโลหิตหรือโลหิตหมดอายุเนื่องจากมีปริมาณมากเกินความต้องการ และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการผลิตส่วนประกอบของโลหิตและบริหารจัดการโลหิตสำหรับปีต่อไป เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ