ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบติดตามกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ผู้แต่ง : ชานิณี วราเอกศิริ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การรับวัคซีนในเด็กเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งการที่เด็กได้รับวัคซีนไม ตรงตามกำหนด เช่น ได้รับวัคซีนก่อนหรือหลังเกณฑ์กำหนด หรือระยะห่างในการรับวัคซีนแต่ละชนิดแต่ละชนิดไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนบางชนิดลดลง หรือทำให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0 – 5 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพบว่าในปี 2558 มีเด็ก 0 – 5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเฉลี่ย 75 คน/เดือน และมีเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด เฉลี่ย 8 คน / เดือน คิดเป็นร้อยละ 10.67 ทั้งนี้ปัญหาที่พบส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ปกครองเด็กที่ไม่พาเด็กมารับวัคซีนตามนัด เนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่มาวันนัด ติดธุระ/ภารกิจสำคัญ ในวันที่มีการฉีดวัคซีน หรือไม่แจ้งให้โรงพยาบาลทราบข้อมูลเด็ก กรณีเด็กย้ายออกนอกพื้นที่หรือย้ายเข้ามาในพื้นที่บริการ ส่วนปัญหาของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล พบว่า ไม่ได้ปรับฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในแต่ละเดือน และขาดการประสานงานกันในพื้นที่ ในการตรวจสอบจำนวนและติดตามเด็กให้มารับวัคซีน ดังนั้น โรงพยาบาลสมเด็จจึงได้มีการพัฒนาระบบติดตามกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการติดตามให้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 2. เพื่อให้มีวัคซีนเพียงพอต่อบริการในแต่ละเดือน 3. เพื่อมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน  
กลุ่มเป้าหมาย : เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่นัดรับวัคซีน ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 – เดือนธันวาคม 2558 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จ จำนวน 222 ราย  
เครื่องมือ : 1 ทะเบียนการรับวัคซีนเด็ก 0 – 5 ปี แยกเป็น หมู่บ้าน รายบุคคล 2 สมุดบันทึกเบอร์โทรศัพท์ของประธานอาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ปกครอง 3 ทะเบียนเบิกวัคซีนที่คลังยาโรงพยาบาล 4 แบบประเมินผลการดำเนินงานการรับวัคซีนในแต่ละเดือน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางและปรับระบบงาน 2. ประสาน อสม. ในพื้นที่ สำรวจเด็ก 0 – 5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน 3. ประชาสัมพันธ์ แจ้งรายชื่อเด็กผ่านหอกระจ่ายข่าวในสัปดาห์แรกของเดือน 4. ติดตามให้เด็ก 0 – 5 ปี มารับวัคซีนโดยใช้ไปรษณียบัตร หรือประสานกับ อสม.ในพื้นที่ในการออกติดตามทุกสัปดาห์ 5. จัดทำทะเบียนการรับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง แยกเป็นหมู่บ้าน รายบุคคลเพื่อติดตามและเฝ้าระวังการรับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง 6. จัดทำสมุดบันทึกเบอร์โทรศัพท์ของประธานอาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ปกครองในการติดตามตัวเด็ก ที่ไม่มารับวัคซีนในวันที่กำหนด 7. จัดทำทะเบียนเบิกวัคซีนที่คลังยาโรงพยาบาลทุกเดือน 8. จัดทำแบบประเมินผลการดำเนินงานการรับวัคซีนในแต่ละเดือน 9. ติดตามการเก็บข้อมูลเด็กที่มารับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง 10. ทบทวนปรับปรุงแก้ไขฐานข้อมูลทุกเดือน  
     
ผลการศึกษา : จากการติดตามการรับวัคซีนในเด็ก ระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 – เดือนธันวาคม 2558 พบว่า เด็กที่นัดมารับวัคซีนในแต่ละเดือนได้รับการติดตามทุกราย มีเด็กได้รับวัคซีน ครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 97.83 มีวัคซีนเพียงพอสำหรับบริการทุกเดือน และมีการปรับปรุงฐานข้อมูลในระบบ Hos-Xp ทุก 1 ครั้ง/เดือน (ตาราง 1) การติดตามระบบการรับวัคซีนในเด็กซ้ำ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 – เดือน ธันวาคม 2558 พบว่า เด็ก 0 – 5 ปี มารับบริการวัคซีนตาม กำหนดเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 97.83 เป็นร้อยละ 98.76 แต่ยังพบปัญหา ผู้ปกครองลืมวันนัด (ไม่ได้เปิดสมุดสีชมพู) หรือถ้า เด็กอยู่กับผู้ปกครองที่ไม่ใช่บิดา – มารดาก็ไม่ทราบวันนัด  
ข้อเสนอแนะ : 1. จัดทำเป็นปฏิทินติดไว้ด้านหน้าสมุดสีชมพู (สมุดประจำตัวเด็ก) เพื่อให้มองเห็นวันนัดได้ง่าย และสะดวก โดยไม่ต้องเปิดสมุด 2. การประสานงานกับทีมเยี่ยมบ้านในการบูรณาการ การสำรวจเด็ก 0 – 5 ปี ที่มีการย้ายเข้าย้ายออกในแต่ละหมู่บ้าน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ