ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาทักษะผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหอผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลสมเด็จ
ผู้แต่ง : จิรขจร จันทร์ศรีหา ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้ มีอาการบ่งชี้ว่ามีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน ต้องทรมานต่อความเจ็บปวดและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ จากการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ผ่านมาพบว่า ความต้องการของผู้ป่วยส่วนมาก คือ ต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน (Place of death) โดยรายล้อมไปด้วยบุคคลอันเป็นที่รักของผู้ป่วย แต่ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยกลับมีความกังวลใจในการปฏิบัติตามคำร้องขอของผู้ป่วย เนื่องจากขาดทักษะและความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนต้องเสียชีวิตที่รงพยาบาล อันเป็นการผิดต่อเจตนารมณ์ครั้งสุดท้ายของผู้ป่วย ดังนั้น คณะผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายประจำหอผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลสมเด็จ จึงได้ทำการพัฒนาทักษะในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้เกิดความรู้สึกมั่นใจรู้สึกมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยมีจุดมุ่งหมายคือ การทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้กลับไปเสียชีวิตที่บ้านอย่างสงบท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้ดูแลหลักความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น 2. เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอยู่ที่บ้านได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ดูแลหลักและผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จ ตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2559 จำนวน 6 ราย  
เครื่องมือ : 1. แผ่นพับให้ความรู้ 2. เอกสารในการสอนสุขศึกษาเกี่ยวกับการดูแลอาการรบกวนต่างๆ 3. แบบประเมินความพึงพอใจ 4. แบบประเมินอาการผู้ป่วย PPS ver.2 , ESAS  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. สอนทักษะ ให้ความรู้ความเข้าใจให้กับครอบครัวของผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่บ้านเช่น การดูแลกิจวัตรประจำวัน การดูแลความสุขสบายทั่วไป 2. แนะนำการสังเกตและการประเมินอาการไม่สุขสบายที่สำคัญของผู้ป่วยให้แก่ผู้ดูแลได้ปฏิบัติตาม เช่น การแนะนำการประเมินอาการปวด การบริหารยาบรรเทาปวด การจดนับบันทึกความถี่ของการใช้ยา Break through pain 3. ส่งเสริมสนับสนุนทางด้านจิตใจ เพื่อให้ญาติมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย 4. เปิดโอกาสให้ญาติได้สอบถามข้อสงสัยในการดูแลผู้ป่วยและให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ 5. ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม โดยประสานงานกับทีมหมอครอบครัวและ รพ.สต. ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด  
     
ผลการศึกษา : จากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2559 มีผู้ป่วยระยะ สุดท้ายเป็นโรคมะเร็งทั้งหมดจำนวน 6 ราย ผู้ดูแลหลักส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.33 มีอายุอยู่ในช่วง 45 – 59 ปี มีอาชีพเกษตรกรรม และใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากการศึกษาอาการรบกวนของผู้ป่วย พบว่า เกิด Fatigue ทั้ง 6 ราย เกิด pain และ dyspnea อย่างละ 3 ราย เมื่อประเมินระดับความรู้ก่อนและหลังการสอนทักษะ ได้ร้อยละ 40 และร้อยละ 80 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจในการได้รับการสอนทักษะ ได้ร้อยละ 76.66 จากการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในการฝึกทักษะผู้ดูแลหลักในการสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้าน พบว่า ผู้ดูแลหลักมีความมั่นใจและสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีความรู้ความเข้าใจในการสอนทักษะเพิ่มมากขึ้น และครอบครัวผู้ป่วยมีความพึงพอใจ  
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการประเมินอาการรบกวนของผู้ป่วยเป็นระยะตามการลุกลามของโรค  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ