|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด |
ผู้แต่ง : |
สายชล ขุนหล้า |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมแพทย์ พยาบาลต้องให้ความช่วยเหลือ อย่างทันท่วงที มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายต่อมารดาอย่างมาก กลไกสำคัญที่สุดที่ทำให้เลือดหยุดดีหลังคลอด คือการหดรัดตัวของมดลูก หากมีสิ่งใดไปขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก ก็จะทำให้เสียเลือดอย่างมากจากการมีเลือดออกจากเยื่อบุมดลูกในส่วนที่เป็นรอยหลุดลอกตัวของรกในกรณีการคลอดทางช่องคลอดแล้วมีเลือดออกหลังจากการคลอดทารกเสร็จสิ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 500 มล. และมากกว่าหรือเท่ากับ1,000 มล.ในกรณีที่ผ่าตัดทางหน้าท้อง การตกเลือดหลังคลอดเป็นสาแหตุการตายของมารดาทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ แม้ว่าโลกจะพัฒนาไปมาก มีความเจริญทางด้านการแพทย์ไปอย่างมากก็ตาม การสูญเสียมารดาจากการตกเลือดหลังคลอดยังมีให้เห็นและได้ยินกันบ่อยๆ อุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบเฉียบพลัน พบประมาณ1-5 เปอร์เซ็นต์ จากสถิติของ โรงพยาบาลสมเด็จ ยังพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดอยู่เรื่อยๆทุกปี และในปี 2554 พบผู้ป่วยมีภาวะ late PPH 1 case คิดเป็นร้อยละ 0.3 ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการตัดมดลูก ทีมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพของตึกหลังคลอดจึงได้ตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญนี้ซึ่งอาจทำให้เกิดความรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ จึงได้ร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อลดอัตราการตกเลือดหลังคลอด
2. เพื่อลดอัตราการเกิด Hypovolemic shock
3. ไม่มีอุบัติการณ์ตัดมดลูก
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่มาคลอดในโรงพยาบาลสมเด็จ |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินและเฝ้าระวังการตกเลือดหลัง |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
. กระบวนการพัฒนาคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ CQI CPG
2. มารดาหลังคลอดแรกรับประเมินสัญญาณชีพ คลึงมดลูก ถ้ามีการส่งต่อจากห้องคลอดว่ามีปริมาณเลือดออก มากกว่า 350มล. ขึ้นไป เมื่อถึงตึกสูติกรรมหลังคลอด จะมีการเจาะฮีมาโตคริตแรกรับ และติดตามฮีมาโตคริตทุก4 ชม.จนครบ24ชม.
3. มีการกระตุ้นให้มารดาหลังคลอดปัสสาวะ และถ้ายังไม่ถ่ายปัสสาวะใน4ชม.ทำการสวนปัสสาวะทิ้ง ถ้ามี bladder full
4. มีการกำหนดแนวทางการเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยการประเมินการหดรัดตัวของมดลูก การวัดสัญญาณชีพและเลือดที่ออกทางช่องคลอด
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากผลการศึกษา ปี 2559 พบว่า อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง (Late PPH) เท่ากับ 0 อัตราการเกิดHypovolemic shock เท่ากับ 0 และ อัตราการตัดมดลูก เท่ากับ 0
หลังจากมีการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยคลอด พบว่า การตกเลือดหลังคลอด
น้อยกว่าค่าเป้าหมาย ซึ่งจากผลการดำเนินงาน พบว่า พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการที่จะลดอัตราการตกเลือดหลังคลอด การเฝ้าระวังในระยะหลังคลอด2ชม. และมีการearly detect มีส่วนสำคัญนอกจากจะช่วยลดความรุนแรง จากการตกเลือดไม่ให้เกิดภาวะช็อก ควรมีการนิเทศ ติดตามเจ้าหน้าที่ในการดูแลมารดาหลังคลอด ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด หรือภาวะฉุกเฉิน ผู้ที่มีความชำนาญกว่า เช่น สูติแพทย์ แพทย์ เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานให้มีคุณภาพ การมีระบบงานที่ชัดเจนและครอบคลุม จะช่วยให้การดูแลมารดาหลังคลอดได้รวดเร็วและลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ และมีระบบconsult จากผู้ที่มีความชำนาญกว่าจะช่วยให้แพทย์หรือพยาบาลช่วยในการดูแลมารดาหลังคลอดได้ครอบคลุมมากขึ้น
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. มีการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ทุกรายในเรื่อง การบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และให้ยาเสริมธาตุเหล็ก โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันภาวะซีด
2. มีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เป็นประจำ
3. ประเมินสมรรถนะของพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะการตกเลือดหลังคลอด
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|